การพัฒนาผลสัมฤทธิ์O-NETโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล โดย นายสุทธิ สุวรรณปาล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน และการปรับปรุง
แก้ไขเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงขึ้นร้อยละ5 และ ให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
จึงได้คิดวิธีที่จะให้โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เป็นระบบ อย่างยั่งยืน
และต่อเนื่อง
การพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษานี้ พัฒนามาจากแนวคิดวงจรพัฒนาคุณภาพPDCA ของ เดมมิ่ง
และกระบวนการนิเทศ PIDRE ของ ดร.สงัด อุทรานันท์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นคู่มือในการนิเทศ ติดตาม ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือสถานศึกษาให้สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบ O-NETได้อย่างเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ให้สูงขึ้น
ขั้นตอนที่ 1 สร้างเป้าหมายร่วมกัน S : Share goals
เป็นขั้นตอนแรกของการวางระบบและกระบวนการนิเทศ
โดยกำหนดให้มีการสร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ เป็นการวางแผนร่วมกันทั้งผู้นิเทศ
และผู้รับการนิเทศขั้นตอนนี้ มีกิจกรรมสำคัญ
ได้แก่ การประชุมร่วมกันระหว่าง ผู้บริหารสถานศึกษา
คณะกรรมการบริหารเครือข่ายสถานศึกษา ครูวิชาการ และคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผล และนิเทศการศึกษา
(อ.ก.ต.ป.น.) เพื่อมอบนโยบายพัฒนาคุณภาพการศึกษา กำหนดเป้าหมายการพัฒนาผลสัมฤทธิ์
มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ระดับโรงเรียน ระดับเครือข่าย จัดกลุ่มสีคุณภาพ เพื่อเป็นฐานในการกำหนดเป้าหมายแล้วนำมากำหนดเป็นแผนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และแผนนิเทศตามสภาพปัญหาและจุดค้นพบในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด ที่ต้องได้รับการพัฒนาจากนั้นผู้บริหารโรงเรียน จะมีการประชุมครูเพื่อจัดทำรายละเอียดของแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์O-NET ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรมพัฒนา
สื่อนวัตกรรม วิธีวัดและประเมินผล
และปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมในแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET หรือ
ครูผู้สอนอาจนำไปปรับปรุงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ของครูที่รับผิดชอบในแต่ละวิชาก็ได้
ขั้นตอนที่ 2 แข็งขันทำหน้าที่ M : Making
ขั้นตอนที่ 3 มีสารสนเทศและข้อมูล I : Information
ขั้นตอนที่ 4 เพิ่มพูนการเรียนรู้ L : Learning
ครูจะนำผลการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและจัดกลุ่มสนทนาPLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับโรงเรียนเพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาการเรียนรู้เบื้องต้นเพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ฉบับเร่งรัด ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน โดยมีคณะนิเทศฯ เข้าไปช่วยให้คำปรึกษา เสนอแนะในโรงเรียนที่รับผิดชอบ ในขั้นตอนนี้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับโรงเรียนและระดับเครือข่าย โดยใช้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ในระดับกลุ่มเครือข่ายโดยมีคณะอนุกรรมการวิชาการในเครือข่ายสถานศึกษา และคณะกรรมการบริหารเครือข่ายสถานศึกษา ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ PLC โดยนำผลจากการพัฒนาในระดับโรงเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาผู้เรียนในระดับกลุ่มเครือข่าย
ขั้นตอนที่ 5 สู่ความสำเร็จ E : Evaluation
เป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานO-NET จากการทดสอบจริงตามกำหนดเวลา และสถานที่สอบของนักเรียน โดยการเปรียบเทียบผลการทดสอบกับค่าเป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดไว้ และค่าเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสังกัด สพฐ. และระดับประเทศ โดยจัดทำเกียรติบัตร โล่เกียรติยศ ให้โรงเรียนที่ดำเนินการแล้วประสบผลสำเร็จเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนด เช่น สูงกว่าระดับประเทศ สูงมากกว่าร้อยละ 5 สูงกว่าปีที่ผ่านมา และสูงอย่างต่อเนื่อง ผลจากการนำนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา กระบวนการนิเทศแบบ SMILE มาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์O-NET ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล ส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานตามนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาที่มีคะแนนสูงกว่าระดับประเทศ อยู่ในอันดับที่ 2 ต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา ได้รับการยกย่องและโล่เกียรติยศจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลได้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้
VDO นำเสนอ กระบวนการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล