สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

เทคนิคการระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ : โรงเรียนบ้านแก้ว

โดย พรณรงค์ ทรัพย์คง - 1 ตุลาคม 2563 - อ่าน 613 ครั้ง




VDO นำเสนอนวัตกรรม



ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

• ผลการวิจัยของพรสวรรค์ สีป้อ (2550, หน้า 127) ที่กล่าวว่าการเรียนรู้คำศัพท์ในการเรียนภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะคำศัพท์เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับทุกทักษะของการเรียนภาษา

• หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้น โดยผู้เรียนที่จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต้องมีความรู้วงคำศัพท์ประมาณ 2,100–2,250 คำ

• จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแก้ว จดจำคำศัพท์ได้เพียงชั่วคราว ขาดความเข้าใจด้านความหมายและความสามารถ ด้านการใช้คำศัพท์ในประโยค ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้คุณภาพผู้เรียน ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด จึงเป็นเหตุผลในการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมด้วยเทคนิค "ระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ” ให้นักเรียนได้ระดมความคิดในการออกแบบชิ้นงาน/ผลงาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ และปลูกฝังพฤติกรรมด้านคุณลักษณะ 5 ประการ ของโรงเรียนสุจริตผ่านกระบวนการกลุ่ม

ขอบเขตการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินการ เดือน สิงหาคม 2563
สัปดาห์ละ 1 วันวันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวม 4 ชั่วโมง
1. ตัวแปรต้น
การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
2. ตัวแปรตาม
    2.1 คะแนนเปรียบเทียบการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อน – หลัง
การสอนซ่อมเสริม
    2.2 คุณลักษณะ 5 ประการ ของโรงเรียนสุจริต ผ่านกิจกรรมทีมสุจริต


ขั้นตอนการดำเนินงาน


ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านแก้ว จำนวน 55 คน

เครื่องมือในการศึกษา
1. แผนการสอนซ่อมเสริม
2. แบบทดสอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
3. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (ทีมสุจริต)

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. บันทึกขออนุญาตใช้แผนการสอนต่อผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก้ว
2. ทดสอบก่อนเรียนซ่อมเสริมด้วยเทคนิคการระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
3. ผู้ศึกษาดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้เวลาในการทดลอง สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวม 4 ชั่วโมง
4. เมื่อเสร็จสิ้นการสอนแล้ว ผู้ศึกษาให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน แล้วให้นักเรียนตอบแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (ทีมสุจริต) จำนวน 9 ข้อ
5. ตรวจให้คะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (ทีมสุจริต) ตามเกณฑ์การให้คะแนนที่ตั้งไว้

วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ

ผลการศึกษา
1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาภาษาอังกฤษในชั่วโมงซ่อมเสริมผ่านการจัดกิจกรรมด้วยเทคนิคการระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น (40.73/60.55)

2. ผลการวิเคราะห์แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มคุณลักษณะ 5 ประการ โรงเรียนสุจริต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษในชั่วโมงซ่อมเสริมผ่านเทคนิค "ระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ” พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณลักษณะ 5 ประการ โรงเรียนสุจริต คือ กระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 87.64

การอภิปรายผล
1. ค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของณภัทริน เภาพาน (2554, หน้า 62). ได้ศึกษาผลของการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้น ความจำจากภาพประกอบตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้น
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณลักษณะ 5 ประการ โรงเรียนสุจริต คือ กระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตในสังคมได้ ดังที่ ทิศนา แขมมณี (2550, หน้า 143-144) ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่มว่าเป็นกระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมี วัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีการดำเนินการร่วมกัน โดยผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มต่างก็ทำหน้าที่ของตน อย่างเหมาะสม และมีกระบวนการทำงานที่ดีเพื่อนำกลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้การเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานกลุ่มที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางสังคม และขยายขอบเขตการ เรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น

ข้อเสนอแนะ
1. ควรชี้แนะกระบวนการทำงานกลุ่มให้นักเรียนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสังเกตกระบวนการทำงานของนักเรียน เพื่อให้เกิดคุณลักษณะที่เราต้องการ
2. มีกระบวนการนิเทศ ติดตาม เพื่อให้คำปรึกษาชี้แนะแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
3. ครูผู้สอนควรรวบรวมและสรุปข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษต่อไป

การนำผลการศึกษาไปใช้
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในกิจกรรม PLC
2. การสอนซ่อมเสริมด้วยเทคนิค "ระดมความคิด สร้างทีมสุจริต พิชิตคำศัพท์ภาษาอังกฤษ” สามารถพัฒนาคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตได้
3. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูที่มาศึกษาดูงาน ที่โรงเรียนบ้านแก้ว จำนวน 9 หน่วยงาน




ผลงานนวัตกรรมโดย






Leave a Comment

ดอกไม้ประดิษฐจากใบยาง (แบบแจกันผสม)

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

Money Coach สร้างความยั่งยืน ด้วยความรู้ด้านการเงิน

IMG


บทความโดย พรณรงค์ ทรัพย์คง


IMG
พรณรงค์ ทรัพย์คง

บทความอื่นของ พรณรงค์