ผู้บังคับบัญชาจะต้องชั่งน้ําหนักดูก่อนว่า หากจะลงโทษภาคทัณฑ์ข้าราชการรายดังกล่าวแล้ว รัฐจะได้ประโยชน์หรือ
เสียประโยชน์จากการลงโทษนั้นหรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จะลงโทษไปรัฐก็ไม่ได้ประโยชน์หรือเสีย
ประโยชน์อันใดเลย แต่การลงโทษเช่นนั้นกลับจะเป็นผลร้ายต่อข้าราชการรายดังกล่าวมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากข้าราชการ
รายดังกล่าวต้องถูกบันทึกลงในทะเบียนประวัติว่าเคยกระทําความผิดทางวินัยมาก่อน ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องเลือกใช้อํานาจในทางที่เป็นคุณแก่ข้าราชการรายนั้น นั่นก็คือจะต้องงดโทษ และให้ว่ากล่าวตักเตือนแทนการลงโทษภาคทัณฑ์ เป็นต้นดังนั้น จะเห็นได้ว่า หลักในการใช้อํานาจดุลพินิจนั้นเมื่อกฎหมายให้อํานาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองคนใด
แล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองคนนั้นจะต้องไม่ใช้อํานาจดังกล่าวตามอําเภอใจแต่จะต้องใช้อํานาจอย่างมีเหตุผล โดยคํานึงถึงหลักแห่งความเหมาะสม หลักแห่งความจําเป็น และหลักแห่งความได้สัดส่วน ซึ่งหากเมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ใช้อํานาจดุลพินิจตามหลักการดังกล่าวมาแล้ว ย่อมจะเป็นหลักประกันความเป็นธรรมและความยุติธรรมให้แก่ผู้ใช้บริการจาก
หน่วยงานของรัฐได้อย่างแน่แท้แหล่งที่มา : สํานักงาน ก.ค.ศ. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.67/2547 การดําเนินการทางวินัยให้รีบดําเนินการโดยเร็ว ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอสํานวนการสอบสวนแล้วเป็นอํานาจของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่จะสั่งการโดยเร็ว โดยไม่จําต้องรอผลการพิจารณาทางอาญาก่อน เพราะกระบวนการพิจารณาทางวินัยและทางอาญามีความแตกต่างกัน การรับฟังพยานหลักฐานก็แตกต่างกัน ทั้งการมีอยู่ของพยานหลักฐานและการให้ถ้อยคําหรือการเบิกความของพยานอาจจะมีความแตกต่างกัน