สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 28 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 15 สิงหาคม 2567 - อ่าน 595 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 28 วันที่ 15 ส.ค. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 17 กรกฎาคม 2567  นางขวัญฤดี ไชยชาญ  ผอ.กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1  และนางสาวอัญชัญ ชูช่วย  ศึกษานิเทศก์  นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA 2025 ในโรงเรียน  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2567  ณ รร.วัดไผ่ล้อม  และรร.วัดหนองบัว


          วันที่ 18 กรกฎาคม 2567  นางขวัญฤดี ไชยชาญ  ผอ.กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1  และนางนันทวรรณ คอนหน่าย  ศึกษานิเทศก์  นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA 2025 ในโรงเรียน  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2567  ณ รร.วัดบูรพาพิทยาราม  รร.วัดหนองคัน  และรร.วัดสามผาน


          วันที่ 18 กรกฎาคม 2567  นางสาวพรรณิภา เจริญทวี  และนางสาวสกุลยา ผลบุญ  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA 2025 ในโรงเรียน  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2567  ณ รร.บ้านเขาแก้ววิทยา


          วันที่ 1 สิงหาคม 2567  นางขวัญฤดี ไชยชาญ  ผอ.กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1  และนายพรณรงค์ ทรัพย์คง ศึกษานิเทศก์  นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA 2025 ในโรงเรียน  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2567  ณ รร.อนุบาลจันทบุรี  และรร.บ้านแก้ว


-------------------------------------------------------------------------

หลักสูตรท้องถิ่น

กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้

นางนันทวรรณ  คอนหน่าย

หลักสูตรท้องถิ่น

          หลักสูตรท้องถิ่นเกิดจากการสร้างหลักสูตรขึ้นใหม่ หรืออาจเกิดจากการนำหลักสูตรท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ มาปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของท้องถิ่น โดยจะต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่ชุมชนเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์กับประชากรในชุมชน (กิตติศักดิ์ คนแรงดี, 2559)

          เมื่อนำหลักสูตรท้องถิ่นมาพิจารณากับกระบวนทัศน์ใหม่ของการสอนจะพบว่า หลักสูตรท้องถิ่นเป็นการเรียนรู้ที่เน้นท้องถิ่น ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้หลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน ในท้องถิ่น ในชุมชน และในจังหวัด เน้นจากห้องเรียนสู่โลกภายนอก เป็นการสอนที่เปิดโอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่และเป็นการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข, 2557)

          การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนั้นต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าหลักสูตรดังกล่าวตรงกับความต้องการและสามารถตอบสนองต่อปัญหาหรือโอกาสที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง


วัตถุประสงค์ของหลักสูตรท้องถิ่น

          1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจถึงความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น

          2. พัฒนาความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในพื้นที่นั้น ๆ

          3. สร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชน

          4. เสริมสร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในชุมชน


ตัวอย่างของสาระหลักสูตรท้องถิ่น

          1. วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น: การเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น การฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น เช่น การทอผ้า การทำอาหารพื้นเมือง เช่น การทำบุญในงานประเพณีของชุมชน การแสดงศิลปะพื้นบ้านหรือการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและวรรณกรรมพื้นเมือง

          2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น: การศึกษาเกี่ยวกับความรู้และทักษะที่ส่งต่อกันมาในท้องถิ่น เช่น การทำหัตถกรรมพื้นบ้าน การเกษตรแบบดั้งเดิม หรือการรักษาโรคด้วยสมุนไพร

          3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: การเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เช่น การอนุรักษ์ป่า การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในท้องถิ่น หรือการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

 

เอกสารอ้างอิง

          กิตติศักดิ์์ คนแรงดี. (2559). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเรื่องผ้าทอไทยทรงดำในบริบทร่วมสมัยของจังหวัดสุพรรณบุรี. ในวิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณทิต สาขาศิลปศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

          พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


-------------------------------------------------------------------------

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา




 


 


 

 


 


 


 

Leave a Comment

สบู่สมุนไพร สูตรมะเขือเทศ

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

Money Coach สร้างความยั่งยืน ด้วยความรู้ด้านการเงิน

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์