สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 23 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 27 มิถุนายน 2567 - อ่าน 300 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 23 วันที่ 27 มิ.ย. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"

 

          วันที่ 5 มิถุนายน 2567  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  นางสาวพรรณี หรี่จินดา  และนางสาววรากร อัครจรัสโรจน์  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 7 คุ้งวิมาน  ณ รร.บ้านเขามะปริง  รร.วัดช้างข้าม  รร.วัดหนองไทร  และรร.วัดโขดหอย  อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี




 

          วันที่ 6 มิถุนายน 2567  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  นางสาวพรรณี หรี่จินดา  นางสาววรากร อัครจรัสโรจน์  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  นายภาณุวัฒน์ คงอยู่  และนายอธิวัฒน์ มากบุญ  นักทรัพยากรบุคคล  ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 8 นายายอามก้าวหน้า  ณ รร.บ้านคลองลาว  และรร.วัดหนองสีงา  อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี


 

          วันที่ 6 มิถุนายน 2567  นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์  รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  นางนันทวรรณ คอนหน่าย  ศึกษานิเทศก์  นางสาวพิชชนาภา เมธวัน  ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน  นางสาวจริยา วิสารวุฒิ  นักวิชาการเงินและบัญชี  นายจักรินทร์ กสิกรรม  นักทรัพยากรบุคคล  ว่าที่ร้อยโท กัมพล ผลพฤกษา  คณะ ก.ต.ป.น.  และนางนันทิดา โสทนา  ผอ.รร.บ้านคลองกะพง  ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 4 มิติใหม่ ท่าใหม่ 4  ณ รร.วัดบูรพาพิทยาราม  รร.วัดหนองคัน  รร.บ้านเจ้าหลาว  และรร.บ้านสังข์ทอง  อำเภอท่าใหม่  จังหวัดจันทบุรี





          วันที่ 11-14 มิถุนายน 2567  นางสาวสกุลยา ผลบุญ  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำการพัฒนาการอ่านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย  ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์  กรุงเทพมหานคร



-------------------------------------------------------------------------

เล่นดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองคุณอย่างไร โดย Anita Coliins

กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้

นายพรณรงค์  ทรัพย์คง
      

          นักประสาทวิทยาได้ทำการค้นพบในการทำความเข้าใจว่าสมองทำงานอย่างไร โดยติดตามมันแบบทันสถานการณ์จริง ด้วยอุปกรณ์ เช่น FMRi และ PET สแกนเนอร์ ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังเพลงเห็นพลุหลายบริเวณในสมองของพวกเขาถูกจุดให้สว่างในทันทีที่ทำการวิเคราะห์เสียง แยกมันออกเพื่อเข้าใจส่วนประกอบ อย่างทำนองและจังหวะ และนำมันทั้งหมดกลับมาด้วยกัน เป็นประสบการณ์ทางดนตรีที่รวมกันเป็นหนึ่งและสมองทำงานพวกนี้ในเวลาเสี้ยววินาที ระหว่างที่เราได้ยินดนตรีครั้งแรก และเมื่อเท้าของเราเริ่มจะย่ำไปตามจังหวะ

          แต่เมื่อเปลี่ยนจากการสำรวจสมองของผู้ฟังเพลงเป็นสมองของนักดนตรี ระหว่างที่ฟังดนตรีทำให้สมองเริ่มทำกิจกรรมบางอย่างที่ค่อนข้างน่าสนใจ การเล่นดนตรีเท่ากับการออกกำลังกายทั้งตัว สำหรับสมอง จะเห็นสมองหลายบริเวณสว่างขึ้น ทำการจัดการข้อมูลต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน ด้วยความปราณีต เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน และด้วยลำดับอันรวดเร็วเหลือเชื่อ

          การเล่นเครื่องดนตรี ทำให้บริเวณต่าง ๆ ในสมองทำงานพร้อมกัน โดยเฉพาะสมองชั้นนอก เกี่ยวกับการมองเห็น การฟัง และการเคลื่อนไหวและเช่นเดียวกับการออกกำลังกายอื่น ๆ วินัย โครงสร้างการฝึกฝน การเล่นดนตรี ทำให้การทำงานของสมองนั้นแข็งแรง และสามารถทำให้เราใช้ความแข็งแกร่งนั้นกับกิจกรรมอื่นได้

          ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างการฟังและการเล่นดนตรี คือการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อน การเล่นดนตรีได้ถูกพบว่าเพิ่มปริมาณและกิจกรรมของส่วน คอร์ปัส คัลโลซัม ของสมอง สะพานระหว่างสมองทั้งสองข้าง ยอมให้ข้อความผ่านข้ามสมองเร็วกว่า และผ่านเส้นทางที่หลากหลายกว่า นั่นอาจทำให้นักดนตรีแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์กว่า ทั้งในทางวิชาการและทางสังคม

          การสร้างเสียงดนตรีเกี่ยวข้องกับทักษะและความเข้าใจ สารและข้อความทางอารมณ์ของมัน นักดนตรีมีความสามารถด้านความทรงจำที่ดี การสร้าง จัดเก็บ และเรียกใช้ความทรงจำเร็วกว่า และมีประสิทธิภาพ 

          นักประสาทวิทยาพบว่า ลักษณะที่ศิลปินและนักกีฬา หัดเล่นเครื่องดนตรีนั้น ต่างไปจากกิจกรรมการเรียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ และการศึกษาแบบสุ่มของผู้เข้าร่วม ผู้ซึ่งแสดงหน้าที่ความจำและการจัดการทางประสาทในระดับเดียวกันในตอนแรก พบว่าผู้ที่เคยมีประสบการณ์เรียนดนตรี แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นในสมองบริเวณต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ

          ในงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ทางสมองของการเล่นดนตรี ทำให้ความเข้าใจของเราต่อหน้าที่ของสมอง พัฒนาไปอีกขั้น มันเปิดเผยจังหวะภายในและความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ที่สร้างวงดนตรีคลาสสิกในสมองของเรา

อ้างอิงจาก  https://www.youtube.com/watch?v=sAqYFC1x4QA


-------------------------------------------------------------------------

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 


 


 


 


 



 


 



 


 


 


 


Leave a Comment

แหนมเห็ดนางฟ้า

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์