คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ปีที่ 2 ฉบับที่ 21 วันที่ 13 มิ.ย. 2567
วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 นายศักดินันท์ ศรีไพร ผอ.รร.อนุบาลจันทบุรี นางสาวอัญชัญ ชูช่วย ศึกษานิเทศก์ และนายธารวัฒน์ รุจิระโชติธาดา นิติกร ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 1 คุณภาพสัมพันธ์ ณ รร.วัดเกาะตะเคียน รร.วัดเกาะขวาง รร.วัดไผ่ล้อม และรร.สฤษดิเดช อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 นางสาวสกุลยา ผลบุญ ศึกษานิเทศก์ นางวันเพ็ญ ประคองธรรม ผอ.หน่วยตรวจสอบภายใน นางปัทมา พวงสมบัติ นักทรัพยากรบุคคล และนางณัฐชยา ยั่งยืน นักวิชาการเงินและบัญชี ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 6 เพื่อนช่วยเพื่อน ณ รร.อนุบาลบ้านหนองคล้า รร.วัดทุ่งเบญจา รร.วัดรำพัน และรร.วัดท่าศาลา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 นายศักดินันท์ ศรีไพร ผอ.รร.อนุบาลจันทบุรี นางสาวอัญชัญ ชูช่วย ศึกษานิเทศก์ และนายธารวัฒน์ รุจิระโชติธาดา นิติกร ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 1 คุณภาพสัมพันธ์ ณ รร.วัดเขาน้อย รร.วัดหนองบัว รร.วัดเนินโพธิ์ รร.วัดเกาะโตนด และรร.วัดเสม็ดงาม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 นางสาวสกุลยา ผลบุญ ศึกษานิเทศก์ นางวันเพ็ญ ประคองธรรม ผอ.หน่วยตรวจสอบภายใน นางปัทมา พวงสมบัติ นักทรัพยากรบุคคล และนางณัฐชยา ยั่งยืน นักวิชาการเงินและบัญชี ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 6 เพื่อนช่วยเพื่อน ณ รร.วัดโขมง รร.วัดเสม็ดโพธิ์ศรี และรร.วัดหมูดุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการประเมิน PISA2025
กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา
การประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพระบบการศึกษาของประเทศมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ในการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนมีศักยภาพสำหรับการแข่งขันในอนาคต PISA ใช้ความร่วมมือและความเชี่ยวชาญของนานาชาติในการวางกรอบโครงสร้างการประเมิน การสร้างเครื่องมือและการศึกษาวิจัย เพื่อประกันคุณภาพของการศึกษาวิจัยให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ในระดับนานาชาติและข้อมูลที่ได้สามารถชี้บอกถึงคุณภาพการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ได้
ประเทศไทยเข้าร่วมโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) ซึ่งริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยมุ่งประเมินสมรรถนะเยาวชนที่มีอายุ 15 ปี ด้านความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy) ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematic Literacy) และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์(Scientific Literacy) เดิม OECD จัดประเมิน PISA ทุกสามปี แต่หลังปี ค.ศ.2025 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้การสอบเป็นรอบละ 4 ปี สำหรับ PISA 2025 (พ.ศ.2568) จะเน้นการประเมินความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก และมีการประเมินเพิ่มเติมด้านการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล (Learning in the Digital World) สำหรับประเทศไทยการประเมิน PISA 2025 จะมีการจัดสอบรอบทดลองใช้เครื่องมือ (Field Trial) ในเดือนสิงหาคม 2567 และจัดสอบรอบการวิจัยหลัก (Main Survey) ในเดือนสิงหาคม 2568