ชื่อ นายสุทธิ สุวรรณปาล
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
สถานที่ทำงาน สพป.จันทบุรี เขต 1
การศึกษา
ปริญญาตรี กศ.บ สาขาบรรณารักษศาสตร์
ปริญญาโท กศ.ม. สาขาการบริหารการศึกษา
ปริญญาเอก ปร.ด สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การศึกษาดูงาน
การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านภาษา
(Literacy) และการคำนวณ (Numeracy) ณ มหาวิทยาลัย
ฟอนทีส (Fontys) ประเทศเนเธอร์แลนด์
ผลงานทางวิชาการ
< คู่มือการประเมินผลตามสภาพจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา
< คู่มือการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
< เอกสารการนิเทศการอ่านการเขียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา
< รายงานวิจัยสภาพการดำเนินงานวัดและประเมินผล การเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
< รายงานผลการนิเทศแบบคลินิกที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการประเมินผล การเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
รางวัลที่ได้รับ
¤ รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ทางการศึกษา ปี 2553
¤ รางวัลหนึ่งแสนครูดี ปี 2555
¤ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. Obec Awards ศึกษานิเทศก์ยอดเยี่ยม เหรียญทอง ระดับภาคกลาง ปี 2555
¤ รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น จังหวัดจันทบุรี
¤ รางวัลครุสดุดี ประจำปี 2556
¤ รางวัลศึกษานิเทศก์ดีเด่น (Supervisor Awards) เหรียญทอง ระดับประเทศ ปี 2556
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงขึ้นจากเดิมร้อยละ 5 และให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ั้นพื้นฐาน และเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน ผู้ศึกษาในฐานะศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนางานนิเทศโดยนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาคุณภาพมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล ได้แก่ วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง PDCA ซึ่งมีนักการศึกษานำไปใช้ในวงการศึกษาอย่างแพร่หลายและวงกว้าง นำมาปรับปรุงและพัฒนาเป็นรูปแบบการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคู่มือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้การนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล
2. เพื่อศึกษาความสามารถของผู้รับการนิเทศในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้การนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล
ขั้นตอนการดำเนินงาน
S: Share goals (สร้างเป้าหมายร่วมกัน)
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการนิเทศ โดย ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ ประชุมร่วมกันโดย ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 มอบนโยบาย กำหนดเป้าหมายพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และวิเคราะห์ผลการทดสอบ O-NET เพื่อวางแผนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ตลอดปีการศึกษา
M: Making (แข็งขันทำหน้าที่)
เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคล คือ การปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ (ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ) และการปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ (ผู้บริหารโรงเรียน)
L: Learning (เพิ่มพูนการเรียนรู้) เป็นขั้นตอนของการใช้ชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ (PLC) ในระดับโรงเรียนและกลุ่มเครือข่าย มีการระดมความคิด ในการแก้ปัญหาจากสารสนเทศในขั้นตอนนี้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ในระดับกลุ่มเครือข่าย
I: Information (มีสารสนเทศและข้อมูล)
เป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศระหว่างและเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ บันทึกผลการปฏิบัติงาน ผลการทดสอบ Pre O-NET (ครู)
E: Evaluation (สู่ความสำเร็จ) เป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ O-NET จากผลการทดสอบ O-NET มอบโล่รางวัล และเกียรติบัตรให้กับโรงเรียน และกลุ่มเครือข่ายที่ประสบผล สำเร็จตามเป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
1. คู่มือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้การนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความสามารถในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้การนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดลทั้งในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก
3. ความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล
ผลการพัฒนาที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย
ผลจากการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล ส่งผลให้โรงเรียนมี ผลคะแนนและระดับคุณภาพการปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ O-NET ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้การนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 84 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 97.67 และอยู่ในระดับดี จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 2.33
ผลการพัฒนาที่เกิดกับหน่วยงาน
ผลจากการนิเทศแบบ SMILE ภายใต้ระบบเครือข่าย ก ข ค จันท์ 1 โมเดล ส่งผลให้ สพป.จันทบุรี เขต 1 มีผลคะแนนจากการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ อยู่ในลำดับที่ 3 และปีการศึกษา 2559 อยู่ในลำดับที่ 2