คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ปีที่ 2 ฉบับที่ 17 วันที่ 9 พ.ค. 2567
วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"
วันที่ 27-30 เมษายน 2567 นางสาวอัญชัญ ชูช่วย ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 และคณะครูแกนนำ PISA 3 โดเมน เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพจัดการเรียนรู้ในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร
วันที่ 29 เมษายน 2567 นายสุริยนต์ กัลยาณี ผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1 และนางขวัญฤดี ไชยชาญ นางสาวสกุลยา ผลบุญ นายพรณรงค์ ทรัพย์คง นางสาววรากร อัครจรัสโรจน์ ศึกษานิเทศก์ ร่วมประชุมขับเคลื่อนแผนการยกระดับผลการประเมินจากโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) กลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ครั้งที่ 4) ณ ห้องประชุม TEPE Online สพป.จันทบุรี เขต 1
วันที่ 29 เมษายน 2567 นายสุริยนต์ กัลยาณี ผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1 นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ นายสาคร คำแสน รองผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1 และคณะศึกษานิเทศก์ ร่วมยินดีต้อนรับ นางสาวพรรณี หรี่จินดา นางสาวจิตรลดา สุภาพงษ์ นางสาววรากร อัครจรัสโรจน์ เนื่องในโอกาสได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ณ ห้องประชุมเรือนกัลยาณมิตร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 ร่วมศึกษาดูงาน ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. และมีนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 ร่วมศึกษาดูงาน ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. และมีนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ "เล่นปนเรียน”
งานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ (การศึกษาปฐมวัย)
นางสาวสกุลยา ผลบุญ
การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน เป็นวิธีการต่างๆที่นำมาสอนความรู้หรือทักษะ ซึ่งครูต้องการจูงใจผู้เรียนให้เรียนรู้จากกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กคิดว่าเป็นการเล่น
การสอนแบบเล่นปนเรียนเป็นวิธีการสอนที่ให้เด็กได้เล่น ได้แสดง ได้ร้องเพลง ได้ทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการเรียน
การเล่นของเด็กเป็นการแสดงออกถึงความสามารถในการใช้ร่างกาย ความคิด ภาษา การแสดงออกทางอารมณ์และการสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นการใช้พลังงานส่วนเกินของเด็ก ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมตามสัญชาติญาณ ทั้งยังเป็นการทบทวนการปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็นการลองผิดลองถูก อันเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
พัฒนาการกับการเล่นของเด็กปฐมวัย 3 – 5 ปี
เริ่มเล่นเป็นกลุ่ม แบบมีปฏิสัมพันธ์กัน วัยนี้จะชอบเล่นซุกซนวิ่ง ปีนป่าย กระโดดในที่กว้าง เช่น วิ่งเล่น ไล่จับ ขี่จักรยาน เล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น
แนวทางการจัดการเรียนรู้
1. การเล่นแบบสำรวจ ตรวจค้น เป็นการเล่นที่ส่งเสริมการรับรู้และประสบการณ์2.การเล่นแบบทดสอบการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล เช่น เด็กกดปุ่ม พัดลม ปิด เปิด และนั่งดูใบพัดหมุน
3.การเล่นแบบออกกำลังกาย การเล่นที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้
4. การเล่นสมมุติและการเล่นเลียนแบบ การเล่นที่ส่งเสริมการใช้ความคิดและจินตนาการ
5. การเล่นสร้าง เป็นการเล่นที่เด็กจะนำข้อมูลความรู้ทัศนคติต่างๆจากประสบการณ์มาสัมพันธ์กันในรูปแบบใหม่ อันก่อให้เกิดความคิดและประสบการณ์ใหม่ๆในด้านสร้างสรรค์
6. การเล่นแบบสัมผัสกระทำ เป็นการเล่นที่ส่งเสริมการสังเกต การคิดจำแนก การคิดเปรียบเทียบและการคิดหาความสัมพันธ์ เช่น การเล่นตัวต่อ นำภาพมาต่อให้เป็นรูปภาพ เป็นต้น
7. การเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาและความจำเช่น การร้องเพลงและทำท่าประกอบจังหวะการเล่าเรื่องการเล่นท่องคำคล้องจอง และทำท่าประกอบ เป็นต้น
8. การเล่นเกม เป็นการเล่นที่ส่งเสริมการคิดการตัดสินใจ ซึ่งในการเล่นเกมเด็กจะจดจำกติกา ข้อตกลง ต้องตัดสินใจและใช้ไหวพริบ
การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
การเล่นมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยเนื่องจากการเล่นเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงไปสู่ความคิดรวบยอด ความคิดสร้างสรรค์ ภาษาและพัฒนาการในทุกด้านด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือเล่นบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
พฤติกรรมการเล่นของเด็กมีทั้งการเล่นสำรวจ การเล่นเลียนแบบ การเล่นเพื่อทดสอบ และการเล่นจิตนาการสร้างสรรค์ ที่มีวิธีการเล่นแบบตามลำพังที่ปราศจากการมีปฏิสัมพันธ์ แบบรวมกันเป็นกลุ่มแต่จะไม่กำหนดบทบาท และกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มที่จำเป็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเล่น
***การเล่นมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยเนื่องจากการเล่นเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงไปสู่ความคิดรวบยอด ความคิดสร้างสรรค์ ภาษาและพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ด้วยการสัมผัสโดยตรง และสื่อที่เป็น ของจริง
ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา