สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 15 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 5 เมษายน 2567 - อ่าน 431 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 15 วันที่ 18 เม.ย. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 23-24 มีนาคม 2567  นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ  รองผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้กิจกรรม "นิเทศฯ พบเพื่อนครู”  โดยมี ศน.ธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  และทีมศึกษานิเทศก์  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3  สพป.จันทบุรี เขต 1


          วันที่ 24 มีนาคม 2567  นางสาวสกุลยา ผลบุญ  และนางสาวพรรณิภา เจริญทวี  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  ระดับประถมศึกษา  โดยการประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google Meet


          วันที่ 25-26 มีนาคม 2567  นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ  รองผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนคุณภาพ  โดยมี ศน.มลฑา ศรีเสริม  และทีมศึกษานิเทศก์  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  ณ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี


          วันที่ 27-30 มีนาคม 2567  นายวริทธิ์นันท์ วิทยม  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต)  ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

 

          วันที่ 29 มีนาคม 2567  นางสาวเพลินพิศ กอบตระกูล  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการประชุมเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการประเมินด้านผลงานและความสามารถในการนิเทศการศึกษา  ณ ห้องประชุมทวีผล สพม.จันทบุรี ตราด

 

          วันที่ 1-2 เมษายน 2567  นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ  รองผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมขยายผลการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนเครือข่าย  โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ  ระดับประถมศึกษา  ตามหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 1  ศูนย์วิทยาศาสตร์พลังสิบ  โรงเรียนสฤษดิเดช  เครือข่ายภาคตะวันออก  โดยมี ศน.สกุลยา ผลบุญ  และทีมศึกษานิเทศก์  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  โรงเรียนสฤษดิเดช

  

-------------------------------------------------------------------------


มารู้จัก "รางวัล IQA AWARD” กันเถอะ (ต่อ)

กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

นางธิติกาญจน์  พัฒน์อมรไชย

 

เกณฑ์การพิจารณารางวัล IQA AWARD

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อ การประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อรับรางวัล IQA AWARD ดังนี้

1. การคัดกรองสถานศึกษาสถานศึกษาจัดการศึกษาทั่วไป สมัครเข้ารับ การคัดเลือกให้ได้รับรางวัลIQA AWARD ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สถานศึกษาสังกัด ทั้งนี้ สถานศึกษาที่เข้ารับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดกรองสถานศึกษาครบทุกข้อตามรายการที่กำหนดในใบสมัคร และไม่ต้องจัดทำเอกสารใด ๆ เพิ่มเติม จากเกณฑ์การพิจารณา ต่อไปนี้

1.1 มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา

1.2 มีผลกำรประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของทุกมาตรฐานการศึกษา ระดับดีเลิศขึ้นไป ย้อนหลัง 3 ปีกำรศึกษา

1.3 มีการนำนวัตกรรม (Innovation)หรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศ แสดงให้เห็น ถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่สะท้อนผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่ปรากฏชัดเจน อย่างน้อย 1 มาตรฐานการศึกษา

1.4 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ หรือมีความโดดเด่นของสถานศึกษา ด้านผู้เรียน และมีพัฒนาการในทุกระดับการศึกษาต่อเนื่องย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา

1.5 มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งล่าสุดทุกมาตรฐานการศึกษาใน ระดับดีขึ้นไป

2. การคัดเลือกสถานศึกษา สถานศึกษาที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การคัดกรองจะได้รับการประกาศรายชื่อ และได้รับการพิจารณา ตรวจสอบยืนยัน ผลงานที่ปรากฏกระบวนการพัฒนา และผลการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและที่ผ่านมาย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา ของสถานศึกษาตามองค์ประกอบในการคัดเลือก 5 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา และเป้าหมายคุณภาพ

คำอธิบาย

สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด เป้าประสงค์ของหน่วยงาน ต้นสังกัดและบริบทของสถานศึกษา โดยระบุองค์ประกอบ ประเด็นการพิจารณา พร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี กำหนดเป้าหมายรายปีที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

องค์ประกอบที่ 2 การขับเคลื่อนคุณภาพสู่มาตรฐาน

คำอธิบาย

สถานศึกษาสื่อสาร สร้างความตระหนัก และขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่ มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการออกแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อรองรับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและบรรลุตามเป้าประสงค์ รวมทั้ง ครอบคลุม การจัดสรรทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา จัดทำปฏิทิน การขับเคลื่อนคุณภาพในรอบปีที่ชัดเจน เพื่อนำแผนปฏิบัติการประจ ำปีสู่การปฏิบัติ และนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุง และพัฒนาโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community :PLC) อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้า และผลการดำเนินงานตามปฏิทินของสถานศึกษาและนำเสนอระบบหรือรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ใช้ใน การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ สถานศึกษาสื่อสาร สร้างความตระหนัก และขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา สู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการออกแบบระบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อรองรับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และบรรลุตามเป้าประสงค์ รวมทั้งครอบคลุมการจัดสรรทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา จัดทำปฏิทินการขับเคลื่อนคุณภาพในรอบปีที่ชัดเจน เพื่อนำแผนปฏิบัติการประจำปี สู่การปฏิบัติและนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุง และพัฒนาโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้า และผลการดำเนินงานตามปฏิทินของสถานศึกษา และนำเสนอระบบหรือรูปแบบ การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ใช้ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐาน การศึกษาที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการตรวจสอบความสำเร็จตามมาตรฐานการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาใช้ระบบและกลไกการวัดและประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเป็นระยะด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย สอดคล้องกับ สิ่งที่ประเมินและบริบทของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาทั้งระหว่างและหลังการดำเนินพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระบบสารสนเทศผลการประเมินที่ง่ายต่อการเข้าถึง และมีประสิทธิภาพและ มีการพัฒนาระบบการวัดและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 4 ภาพความสำเร็จของสถานศึกษาและคุณค่าต่อวงวิชาการ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เกิดประสิทธิผล ก่อให้เกิด การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาทุกระดับของสถานศึกษา และมีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี หรือคงสภาพในระดับคุณภาพดีเลิศ ขึ้นไป รวมทั้งสถานศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรม หรือเป็นต้นแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ต่อวงวิชาการ หรือต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบที่ 5 การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้ำใจ และตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหาร สถานศึกษาแสดงภาวะผู้นำและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษาขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษา โดยจัดโครงสร้าง กำหนด บทบาทหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้มีสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุม และเป็นปัจจุบัน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทำงวิชาชีพ (PLC) และสร้างนวัตกรรม (Innovation) และ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการบริหารจัดการคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดและสะท้อนถึงการดำเนินกรที่ประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับที่ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่ยั่งยืน โดยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็งของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


-------------------------------------------------------------------------


 


 


Leave a Comment

ปุ๋ยมูลไส้เดือน โรงเรียนบ้านแก้ว

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

Money Coach สร้างความยั่งยืน ด้วยความรู้ด้านการเงิน

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์