โรงเรียนอนุบาลเมืองจันทบุรี | นิเทศ กำกับ ติดตามการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
วันที่ 23 พฤษภาคม 2566สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 นำโดยนางลัดนางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ รอง ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 และคณะประกอบด้วย นายพรณรงค์ ทรัพย์คงนางอุมาพร จรัลทรัพย์นางกัญญาณัฐิกานต์ อารีรมย์ และนางสาวอ้อมใจ ผดุงโกเศตร์ ลงพื้นที่ นิเทศ กำกับ ติดตามการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านท่าแฉลบ โดยมีนางนิตยา วัฒฐานะนางสาวจิราวรรณ ท่าม่วง นายภาคภูมิ ช้างใหญ่ นายอนวัช ยุทธเสรี และนายธีรยุทธ พลอยศิริ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครูให้การต้อนรับ ประเด็นนิเทศนิเทศ กำกับ ติดตามการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (ด้านการบริหารงานทั่วไป)
2. ด้านบริหารงานบุคคล
3.ด้านวิชาการ
4. ด้านการบริหารงบประมาณ
ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (ด้านการบริหารงานทั่วไป) พบว่าโรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ สะอาด ร่มรื่น สวยงามและปลอดภัย มีการการจัดห้องเรียน ห้องสมุด และห้อง ปฏิบัติการต่าง ๆ อยู่ในสภาพพร้อมใช้ สำหรับนักเรียนทุกคนมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคารเรียน อาคารประกอบ และมีการซ่อม บำรุงให้ปลอดภัยอย่างเป็นปกติมีการป้องกันจุดเสี่ยงและจุดอันตรายทั้ง ภายในและภายนอกโรงเรียน (เช่น อันตรายจากสระน้ำ เครื่องเล่น ฯลฯ)มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ที่จะเป็นพาหะ นำโรค หรือสัตว์มีพิษ (ยุง แมลงวัน แตน ผึ้ง ฯลฯ)มีการจัดระบบน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สะอาดปลอดภัย อย่างเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคนมีจำนวนโต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอกับการใช้งานมีการให้บริการและดูแลด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรมีการดำเนินงานธุรการและสารสนเทศของโรงเรียนเป็นปัจจุบันมีการเตรียมความพร้อมด้านการเดินทางมาเรียนของนักเรียนมีมาตรการในการป้องกันภัยธรรมชาติมีมาตราการในการป้องกันภัยจากยาเสพติดมีมาตราการในการป้องกันภัยจากการพกอาวุธมาโรงเรียนมีมาตราการในโรคลมแดด "ฮีทสโตรก (Heatstroke)
ด้านบริหารงานบุคคล พบว่า มีการจัดประชุมครู/บุคลากร/ผู้ปกครอง และนักเรียนก่อนเปิดภาคเรียน มีคำสั่งการจัดชั้นเรียน และมอบหมายงานให้ครูรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของบุคลากรทุกคน (ID PLAN) มีการจัดทำข้อมูลการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ มีการดำเนินการเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำแผนอัตรากำลังในสถานศึกษา
ด้านวิชาการ พบว่ามีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางฯ ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) และหลักสูตรปฐมวัยพ.ศ.๒๕๖๐ มีการประชุมครู และคณะกรรมการ สถานศึกษา เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน และวางแผนการพัฒนาต่อไป ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อย ๑ คน/ ๑ สาระการเรียนรู้ มีการจัดทำเอกสารธุรการชั้นเรียน เช่น การลงเวลาเรียนของนักเรียน การบันทึกคะแนน ชัดเจน เป็นปัจจุบัน มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนเช่น ข้อมูลผลการประเมินอ่านออก เขียนได้ จากโปรแกรมของระบบการรายงานข้อมูล e-MES ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มีการจัดซื้อ จัดหาหนังสือเรียน แบบเรียน เครื่องแบบนักเรียน ได้ครบ และถูกต้อง มีสื่อ การใช้สื่อการเรียนรู้ เช่น สื่อ ICT, DLIT, DLTV, มีวัสดุอุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้พร้อมใช้ มีการกำหนดแผนการยกระดับคุณภาพผู้เรียน อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น คุณภาพของเด็กปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม กฎกระทรวง การประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ มีการดำเนินงานตรงตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา มีการนิเทศภายในที่ตรงตามกำหนดใน แผนนิเทศภายในของสถานศึกษา
ด้านการบริหารงบประมาณ พบว่า มีการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์การเรียน โดยมีหลักฐานการรับ-จ่ายเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายเรียนฟรี มีการติดตามใบเสร็จรับเงิน ค่าอุปกรณ์การเรียนจากนักเรียน/ ผู้ปกครอง ตามนโยบายเรียนฟรี มีการวางแผนการบริหารค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการให้บริการอาหารกลางวัน ในวันแรกของการเปิดภาคเรียน โรงเรียนได้รับอาหารเสริมนมจากองค์กรส่วนท้องถิ่น ในวันแรกของการเปิดภาคเรียน
--------------------------------------------------------