นิเทศก์ news

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 22 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย - 12 มิถุนายน 2567

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 22 วันที่ 20 มิ.ย. 2567


          วันที่ 29 พฤษภาคม 2567  นายสาคร คำแสน  รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  นางสาวพรรณี หรี่จินดา  นางสาววรากร อัครจรัสโรจน์  ศึกษานิเทศก์  นางสุภาวดี อ่องโอภาส  ผอ.กลุ่มกฎหมายฯ  นายนิพิท มหาชัย  นักวิชาการศึกษา  และนางนันทวัน พีระเชื้อ  นักวิเคราะห์นโยบายฯ  ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 7 คุ้งวิมาน  ณ รร.วัดหนองแหวน  รร.วัดนาซา  และรร.วัดท่าแคลง  อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี




          วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 – วันที่ 1 มิถุนายน 2567  นายพรณรงค์ ทรัพย์คง  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นวิทยากรโครงการค่ายเยาวชนพัฒนาศักยภาพทางดนตรี ประจำปีงบประมาณ 2567  ณ หาดทรายทองรีสอร์ท  อำเภอท่าใหม่  จังหวัดจันทบุรี

 

          วันที่ 31 พฤษภาคม 2567  นายสาคร คำแสน  รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  นางสาวพรรณี หรี่จินดา  นางสาววรากร อัครจรัสโรจน์  ศึกษานิเทศก์  นางสาวสมพร อุระเกตุ  ผอ.กลุ่มส่งเสริมฯ  นายภาณุวัฒน์ คงอยู่  นักทรัพยากรบุคคล  ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 8 นายายอามก้าวหน้า  ณ รร.วัดวังหิน  รร.บ้านห้วงกระแจะ  และรร.บ้านยางระหง อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี



 

          วันที่ 4 มิถุนายน 2567  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  นางสาวพรรณี หรี่จินดา  นางสาววรากร อัครจรัสโรจน์  ศึกษานิเทศก์  นางสาวสมพร อุระเกตุ  ผอ.กลุ่มส่งเสริมฯ  นายภาณุวัฒน์ คงอยู่  นักทรัพยากรบุคคล  ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครือข่ายสถานศึกษาที่ 8 นายายอามก้าวหน้า  ณ รร.บ้านต้นกระบก  รร.วัดนายายอาม และรร.วัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่ 171  อำเภอนายายอาม  จังหวัดจันทบุรี




-------------------------------------------------------------------------

ตกขบวน...ไหมนะ?

กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา

นางสาวพรรณิภา เจริญทวี

          ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ เราได้รับทั้งข่าวดีและข่าวที่น่าตกใจเรื่องของการลงทุนด้านดิจิตัลจากเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่กำลังขยายการลงทุนและพัฒนาเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง เช่น นายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์ เดินทางไป 3 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย เพื่อประกาศเม็ดเงินลงทุนตั้งศูนย์ข้อมูลเอไอและบริการคลาวด์ โดยที่ไมโครซอฟต์ประกาศลงทุนในอินโดนีเซียวงเงิน 1,700 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 63,000 ล้านบาท และประกาศการลงทุนเอไอและคลาวด์คอมพิวติงในมาเลเซียมูลค่าการลงทุนถึง 2,200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 81,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอไอในมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในแต่ละประเทศที่ต้องการยกระดับดึงการลงทุนกลุ่มไฮเทคอื่นๆเพิ่มมากขึ้นในอนาคต แต่เมื่อเดินทางเยือนไทย ไมโครซอฟต์ได้แค่ประกาศลงทุนตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ โดยยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแผนการลงทุนเมื่อเทียบกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทำไมล่ะ?

          คุณครูรู้หรือไม่? ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทเหล่านี้ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จะมีการเข้ามาศึกษาและวิจัยเก็บข้อมูลความเป็นไปได้ในการลงทุนในแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่องล่วงหน้าแล้วหลายปี ขอย้ำว่า "หลายปี” ก่อนตัดสินใจลงทุนมูลค่าสูง เมื่อมีการลงทุนเข้ามา การขยายตัวของบริการคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ก็เกิดขึ้น ตามมาด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รองรับการลงทุนประเภทอื่น ๆ ให้หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับตำแหน่งงานและรายได้มหาศาล นอกจากความสามารถในการเจรจาของรัฐบาลแล้วปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น นโยบายการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแหล่งพลังงานสีเขียว ตามเป้าหมายประชาคมโลก ทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายการศึกษาในปัจจุบันและแนวโน้มลักษณะประชากรในอนาคต ความสามารถทางเทคโนโลยีของแรงงาน ทักษะการทำงาน ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ถึงแม้ว่าคนไทยจะติดอันดับประเทศที่ใช้ระบบดิจิทัลทางการค้าระหว่างประเทศอันดับ 32 ของโลก เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน จากผลสำรวจของ Global Trade Modernization Index 2024 (ข้อมูล:ข่าวคณะโฆษก,รัฐบาลไทย 12/6/267) แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฐานการลงทุนที่น่าสนใจในสายตาของบริษัทลงทุนด้านดิจิตัล ที่มีความต้องการแรงงานคนที่มีมากกว่าทักษะการใช้งาน ข่าวการลงทุนของไมโครซอฟท์ที่ผ่านมา อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าไทยเริ่มเดินช้ากว่าประเทศอื่นแล้ว

          ถึงเวลาแล้วที่ "คุณครู” ผู้รับหน้าที่ "โค้ช” ในวงการการศึกษาตัวจักรสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยไม่ตกขบวน มีส่วนร่วมรับผิดชอบกับอนาคตของประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่คุณครูต้องตื่นตัว รู้เท่าทันยุคสมัย การปรับตัวและใส่ใจพัฒนาการสอน วางแผนแก้ไขปัญหาและหาทางพัฒนาเด็กอย่างมีจุดหมาย สร้างเสริมทักษะที่ใช้ได้จริงในโลกอนาคต ติดอาวุธให้เด็กนักเรียนไทยมีโอกาสแข่งขันกับเขาได้ อย่าปล่อยให้เด็กไทยมาเรียนให้ครบ 200 วัน และจบปีการศึกษาด้วยเกรดที่สวยงาม แต่กลายเป็นแรงงานไร้คุณภาพและไม่เป็นที่ต้องการของโลกในอนาคต


-------------------------------------------------------------------------

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา




 


 


 


Leave a Comment