นิเทศก์ news

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 8 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย - 19 กุมภาพันธ์ 2567

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 8 วันที่ 22 ก.พ. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"

 

          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางสาวอัญชัญ ชูช่วย  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 1 อำเภอเมืองจันทบุรี  ณ โรงเรียนวัดเกาะตะเคียน โรงรียนวัดหนองบัว โรงเรียนวัดเนินโพธิ์ และโรงเรียนวัดเกาะขวาง  


          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นายพรณรงค์ ทรัพย์คง  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 2  อำเภอเมืองจันทบุรี  ณ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี โรงเรียนวัดพลับ โรงเรียนวัดสิงห์ โรงเรียนบ้านท่าแฉลบ โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส โรงเรียนบ้านแก้ว และโรงเรียนบ้านชำโสม 



          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางขวัญฤดี ไชยชาญ  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 3 อำเภอเมืองจันทบุรี  ณ โรงเรียนวัดพลับพลา โรงเรียนวัดทองทั่ว โรงเรียนวัดดอนตาล และโรงเรียนวัดโป่งแรด  



          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางนันทวรรณ คอนหน่าย  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 4 อำเภอท่าใหม่  ณ โรงเรียนวัดหนองคัน โรงเรียนบ้านสังข์ทอง และโรงเรียนบ้านเจ้าหลาว  


          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางสาวพรรณิภา เจริญทวี  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 5 อำเภอท่าใหม่  ณ โรงเรียนวัดสามผาน โรงเรียนบ้านวังปลา โรงเรียนบ้านแก่งน้อย โรงเรียนบ้านศรัทธาตะพง และโรงเรียนบ้านสะพานเลือก  

 

         วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางสาวสกุลยา ผลบุญ  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 6 อำเภอท่าใหม่  ณ โรงเรียนวัดหมูดุด โรงเรียนวัดคลองขุด โรงเรียนวัดโขมง และโรงเรียนวัดเสม็ดโพธิ์ศรี  

  


          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 7 อำเภอนายายอาม   โรงเรียนวัดนาซา โรงเรียนวัดหนองไทร โรงเรียนวัดช้างข้าม โรงเรียนบ้านเขามะปริง  และเครือข่ายที่ 8 อำเภอนายายอาม  ณ  โรงเรียนวัดหนองสีงา โรงเรียนวัดวังหิน โรงเรียนวัดนายายอาม โรงเรียนบ้านยางระหง

 

          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นางมลฑา ศรีเสริม ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 9 อำเภอแก่งหางแมว  ณ โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น โรงเรียนบ้านวังไม้แดง โรงเรียนบ้านหนองเจ๊กสร้อย และโรงเรียนวัดเขาวงกตรุจิรวงศาราม  


          วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นายวริทธิ์นันท์ วิทยม ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ได้รับมอบหมายจากท่านผอ.เขต ให้ไปนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมสนามสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566  เครือข่ายที่ 10 อำเภอแก่งหางแมว  ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว โรงเรียนบ้านช่องกะพัด โรงเรียนวัดแก่งหางแมว โรงเรียนบ้านโป่งวัว และโรงเรียนบ้านหนองบัวทอง 

 

-------------------------------------------------------------------------


โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา
กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ (การศึกษาประถมศึกษา)
นางสาวสกุลยา ผลบุญ

          การเดินทางของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สร้างเสริมประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับกิจกรรมการทดลอง พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพ

          โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปีพ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว




          โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มาจากการประเมินผลนานาชาติ ของโครงการ PISA พบว่าความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยต้องการปลูกฝังแนวคิด "การจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ให้แก่ครูและเด็กในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศไทย ขยายฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ "Inquiry” เข้าสู่ระดับประถมศึกษา เพื่อเชื่อมโยงรอยต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระหว่างอนุบาล-ประถมศึกษาพัฒนาครูและบุคลการทางการศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          โครงการได้ผนึกกำลังหน่วยงาน8 พันธมิตร ร่วมดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้แก่

               1. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

               2. สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

               3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

              4. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

              5. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

              6. บริษัท บี.กริม

              7. บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด

              8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)


          โดยเริ่มนำใบงานชุดกิจกรรมการทดลองเรื่อง "น้ำ” มาให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน จนถึง ณ ปัจจุบัน โครงการได้พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ ทักษะเชื่อมโยงกับสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD : (Education for Sustainable Development) เพื่อตอบสนองแนวทาง17 ข้อของ UN sustainable development goals (SDGs)


          ซึ่งเรายังไม่หยุดนิ่งเพียงแค่นี้ ในอนาคตเรามีแนวทางที่จะขยายแนวคิดของโครงการไปทั่วประเทศ รวมถึงขยายแนวคิดสู่ระดับประถมศึกษาด้วยเช่นกัน

          โครงการ"บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับประถมศึกษา เป็นโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ผ่านกิจกรรมการทดลอง เพื่อศึกษาเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ที่นักเรียนสนใจ นักเรียน ได้ทดลองปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมพัฒนาการ ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตผ่าน ประสาทสัมผัสทั้งห้า ฝึกทักษะกระบวนการคิด แก้ปัญหา จากสิ่งที่เรียนรู้ได้ตามวัยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำประสบการณ์ ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้

          หลักเกณฑ์ของการดำเนินการตามโครงการ"บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับประถมศึกษา

               1)ักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการสืบเสาะอิสระตามหัวข้อ/คำถามที่ตนเองสนใจ โดยอาจจะทำเป็นกิจกรรมเดี่ยว หรือ กลุ่ม ตามความสนใจและความเหมาะสม โดยนักเรียนมีอิสระในการเลือกหัวข้อและกลุ่มเอง

               2)แต่ละโรงเรียนทำรายงานสรุป หัวข้อกิจกรรมการสืบเสาะอิสระ ที่นักเรียนได้ทำ พร้อมรายละเอียดสั้น ๆ เกี่ยวกับหัวข้อนั้น ได้แก่ กิจกรรมเดี่ยว/กลุ่ม คำถามที่นักเรียนสนใจ กิจกรรมที่นักเรียนทำ และข้อสรุป/ค้นพบของนักเรียน

               3)แต่ละโรงเรียน เลือกการสืบเสาะอิสระมา 1 หัวข้อที่น่าสนใจที่สุด (กิจกรรมเดี่ยว/กลุ่มก็ได้)เพื่อส่งสำหรับเป็นหลักฐานในการประเมินเพื่อการรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (โดยอาจจะเป็นรายงานหรือการนำเสนอในรูปแบบใดก็ได้ ที่เด็กเป็นผู้บันทึก รวบรวมและนำเสนอด้วยตัวเอง)

          การสืบเสาะอิสระ (Independent Study)

               การสืบเสาะอิสระ คือ การที่เด็กได้สืบเสาะหาคำตอบของคำถามที่ตนเองสงสัย รวมถึงการจดบันทึก และจัดทำรายงานเพื่อสรุปและนำเสนอข้อค้นพบ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          เป้าหมายของการสืบเสาะอิสระ

               เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่สนใจรอบตัวผ่านการตั้งคำถาม วางแผน ดำเนินการสืบเสาะ บันทึกผล และสื่อสารด้วยตนเอง (อาจจะมีครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการแนะนำหรือช่วยเหลือเมื่อจำเป็น)

          รูปแบบในการสืบเสาะอิสระ

               ●การทดลอง (Experiment) เป็นการออกแบบวิธีการเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยมีการวางแผนขั้นตอน กำหนด/ควบคุมตัวแปร บันทึกผลของการทดสอบ เพื่อยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐาน เช่น ขนมปังนุ่มฟู เครื่องกรองน้ำมัน น้ำยาเป่าฟอง ภาพเงา

               ●การสำรวจ (Survey) เป็นการรวบรวมข้อมูลหรือออกไปสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาจัดจำแนกและนำเสนอ ตัวอย่างเช่น เสียงที่มาจากป่าพรุ เมนูอาหารกลางวัน ขนมในโรงเรียนที่เพื่อน ๆ ชอบ สัตว์ในทุ่งนา ใบไม้เปลี่ยนสี รังมดใต้ต้นไม้ PM. 2.5

               ●การสังเกต(Observing) เป็นการสังเกตหรือติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ตัวอย่างเช่น การสร้างรังของนก มดจอมพลัง กว่าจะมาเป็นผลไม้ข้าวโพด หนอนตัวน้อย ไส้เดือนในแปลงผัก ดวงดาวและดวงจันทร์ วงจรชีวิตสัตว์

               ●การสร้างสิ่งประดิษฐ์ (Inventing) เป็นการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (ของเล่น ของใช้ เครื่องแต่งกาย) จากวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น วัสดุเหลือใช้หรือวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยจะต้องมีการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติ เช่น บ้านนกจากกิ่งไม้ จานจากใบพืช สีเทียนจากธรรมชาติ นาฬิกาแดด เสื้อกันฝนจากขยะ ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ตุ๊กตาจากดินเหนียว หน้ากากจากเสื้อตัวเก่า

               ●การเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ (Field Trip) เป็นการศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ ในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ ร้านค้า โรงงาน ฟาร์ม สถานที่ท่องเที่ยว โดยมีวิทยากรให้คำแนะนำให้ความรู้ เช่น อุปกรณ์ทำนา ฟาร์มไส้เดือน พนักงานในร้านสะดวกซื้อ นักดับเพลิง ชีวิตบนดาวอังคาร

          การสืบค้น (Searching/Research) เป็นการศึกษาหาข้อมูลจากหนังสือหรืออินเทอร์เน็ต เพื่อรวบรวมและสรุปข้อมูลที่ได้ และนำเสนอเช่น งู ฉลาม ไดโนเสาร์ ดาวเคราะห์ กล้วยไม้ สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล


          หลังจาก10 ปี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  เรามีเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น และจากนี้ต่อไปอีก 20 ปี หรือ 30 ปี  ขอให้คุณครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านเป็นพลังในการพัฒนา เด็ก ๆ ของเราให้เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพไปพร้อมกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ตลอดไป


          สามารถเข้าถึงคู่มือการจัดกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ผ่าน QR Code นี้


-------------------------------------------------------------------------


ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 


 


 


 


 


 




 

 

 


 

 


 

 


 


Leave a Comment