นิเทศก์ news

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย - 30 มกราคม 2567

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 วันที่ 1 ก.พ. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 23 มกราคม 2567  นายวริทธิ์นันท์ วิทยม  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการนิเทศ ติดตาม หลักสูตรลูกเสือ 4 ประเภท ให้มีความทันสมัย  ประเภทสามัญ  ณ โรงเรียนวัดวังจะอ้าย  และประเภทวิสามัญ  ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองจันทบุรี



          วันที่ 25 มกราคม 2567  คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมแสดงความยินดีกับนายอภิวัฒน์ งามการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเสม็ดโพธิ์ศรี  เนื่องในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรำพันฯ  ณ โรงเรียนวัดรำพันฯ

 

          วันที่ 25 มกราคม 2567  คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมแสดงความยินดีกับนายชัยวัฒน์ ภัทรกิจสวัสดิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินดินแดง  เนื่องในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองเจ๊กสร้อย  ณ โรงเรียนวัดรำพันฯ


          วันที่ 25 มกราคม 2567  คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมแสดงความยินดีกับนางสาวสุนีรัตน์ จันทรานุวัฒน์กุล  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหมูดุด  เนื่องในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินดินแดง  ณ โรงเรียนวัดรำพันฯ 


          วันที่ 26 มกราคม 2567  คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ปีการศึกษา 2566  ณห้องประชุม 1  ชั้น 3  สพป.จันทบุรี เขต 1






          วันที่ 27 มกราคม 2567  นางมลฑา ศรีเสริม ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2567  ณ โรงเรียนสฤษดิเดช


 

-------------------------------------------------------------------------


สอนเด็กให้รัก(รักษ์)โลก
นางสาวพรรณิภา เจริญทวี

กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา

          ปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลก ผลงานวิจัยหลายชิ้นได้ให้ความเห็นตรงกันว่าสาเหตุส่วนหนึ่งของภัยแล้ง น้ำท่วม และภัยธรรมชาติต่างๆ เกิดมาจากน้ำมือของมนุษย์ การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยจากอดีต กำลังส่งผลถึงความเป็นอยู่ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง การทำการเกษตร การประมง วิถีชีวิตและความอดอยาก ตลอดจนปัญหาสุขภาพ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย เรายังสามารถช่วยกันบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกเดือดได้ โดยการช่วยกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประจำวันทีละเล็กทีละน้อย ทว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ว่านี้แม้จะทำได้ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งอาจต้องอาศัยการศึกษาที่ช่วยปลูกฝังให้คนในประเทศเข้าใจและเอาใจใส่ธรรมชาติตั้งแต่ยังเล็ก

          จากการวิจัยในเรื่อง "การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (You don’t wanna teach little kids about climate change”: Beliefs and Barriers to Sustainability Education in Early Childhood : Julia L. Ginsburg Concordia University, Canada and Shannon Audley Smith College, USA เมื่อปี 2020 พบว่าเด็กที่ได้รับการปลูกฝังให้รักธรรมชาติตั้งแต่เด็กมักเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีส่วนร่วมในการรณรงค์เรื่องด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน งานวิจัยดังกล่าวยังชี้แนะว่า สถานศึกษาอาจช่วยปลูกฝังให้เด็กรักธรรมชาติได้โดย

          ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็ก "อยู่” กับธรรมชาติ (In the environment) เช่น การเดินสำรวจพืชพันธุ์ในโรงเรียน การเก็บตัวอย่างก้อนหินแบบต่างๆ การทำกิจกรรมปิกนิกทานอาหารใต้ต้นไม้ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีข้อควรคำนึงถึง เช่น ครูจะต้องทำความเข้าใจพูดคุยกับผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กอยู่กับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำกิจกรรม การรักษาความสะอาด เช่น เมื่อทำกิจกรรมเล่นดินทรายแล้วเด็กจะต้องรู้จักการทำความสะอาดตนเอง ล้างมือล้างเท้าอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ปกครองรู้สึกสบายใจและพร้อมที่จะให้เด็กร่วมทำกิจกรรมในครั้งต่อไป ซึ่งผลงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่ากิจกรรมดังกล่าวอาจส่งผลให้เด็กพัฒนาความพึงพอใจต่อชีวิตและรักสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงแม้กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมยอดฮิตของหลายโรงเรียน บทเรียนควรส่งเสริมให้เด็กเอาใจใส่ (care) และรัก (love)ธรรมชาติผ่านการสะท้อนหลังเด็กปฏิสัมพันธ์และอยู่กับธรรมชาติ

          ครูควร"สอดแทรก”เนื้อหาความยั่งยืนและธรรมชาติในบทเรียน(about and for the environment) เพื่อส่งเสริมให้เด็กเข้าใจเส้นทางและความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ ผลกระทบของพฤติกรรมประจำวันของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และวิธีแก้ไขปัญหา นอกจากนี้การสอดแทรกเนื้อหาเล็กๆน้อยๆดังกล่าวยังช่วยให้เด็กเอาใจใส่ (care)และรัก (love) ธรรมชาติมากขึ้นเช่น ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่กำลังจัดกิจกรรมเรื่องของอากาศ ก็สามารถสอดแทรกทั้งนี้การสอดแทรกเรื่องของการดูแลรักษาอากาศเข้าไป

          ครูควร"สอดแทรก”เนื้อหาความยั่งยืนและธรรมชาติในบทเรียน(about and for the environment) เพื่อส่งเสริมให้เด็กเข้าใจเส้นทางและความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ ผลกระทบของพฤติกรรมประจำวันของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และวิธีแก้ไขปัญหา นอกจากนี้การสอดแทรกเนื้อหาเล็กๆน้อยๆดังกล่าวยังช่วยให้เด็กเอาใจใส่ (care)และรัก (love) ธรรมชาติมากขึ้นเช่น ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่กำลังจัดกิจกรรมเรื่องของอากาศ ก็สามารถสอดแทรกทั้งนี้การสอดแทรกเรื่องของการดูแลรักษาอากาศเข้าไประหว่างจัดกิจกรรมได้ด้วย เป็นต้น ซึ่งการสอดแทรกเนื้อหาดังกล่าวต้องอาศัยความสามารถของครูที่มีความเข้าใจในพัฒนาการเด็กและใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย

          นอกจากนี้สถานศึกษาควรวางเนื้อหาเรื่องการเรียนรู้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในบทเรียนให้ชัดเจน โดยเริ่มต้นจากเนื้อหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เพื่อที่ครูจะนำพาเด็กทำกิจกรรมโดยใช้สื่อการสอนในพื้นที่ที่ง่ายต่อการบริหารจัดการ ตลอดจนส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการคิดเนื้อหาตามความเข้าใจและควรออกแบบบทเรียนและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ (Active Learning)


-------------------------------------------------------------------------


ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา


          



 





 





Leave a Comment