คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 วันที่ 25 ม.ค. 2567
วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"
วันที่ 15 มกราคม 2567 นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 และนางขวัญฤดี ไชยชาญ นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 ร่วมการนิเทศติดตามผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ในระดับประถมศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยดำเนินการในรูปแบบการนิเทศออนไลน์ เพื่อกำกับติดตามผลการจัดการศึกษา รวมทั้งให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาให้แก่บ้านเรียนรักษ์โลกและบ้านเรียนคุ้มสุข ณ ห้องประชุม TEPE Online
วันที่ 18 มกราคม 2567 นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 และคณะศึกษานิเทศก์ โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางสาวพรรณิภา เจริญทวี ร่วมการนิเทศติดตามผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ในระดับปฐมวัย ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยดำเนินการในรูปแบบการนิเทศออนไลน์ เพื่อกำกับติดตามผลการจัดการศึกษา รวมทั้งให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาให้แก่ บ้านเรียนศรัญญา และบ้านเรียนเติมบุญตุนธรรม ณ ห้องประชุม TEPE Online
วันที่ 22 มกราคม 2567 นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 และคณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 ร่วมประชุมปฏิบัติการวางแผนพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษา ณ ห้องประชุม TEPE Online
วันที่ 23 มกราคม 2567 นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1 และคณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 ร่วมจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาและทำสื่อวิชาการรูปแบบออนไลน์ ณ ห้องประชุม TEPE Online
-------------------------------------------------------------------------
กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา
วันนี้กลุ่มงานนิเทศฯ มีคำคุ้นหูที่คุณครูอาจจะยังสับสน มาแนะนำกันก่อนที่จะนำเข้าสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกรวนกันค่ะ
SDGs : Sustainable Development Goals = เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกหลังปี2015 ที่ได้รับการรับรองจาก193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (UN) เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ต้องบรรลุภายใน 15 ปี เป็นทิศทางการพัฒนาที่ทุกประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2016ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 เรียกได้ว่าเป็นมติโดยรวมของชาวโลก ที่จะร่วมกันพัฒนาตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน
ESD : Education for Sustainable Development = การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คือ การเรียนรู้เพื่อเสริมพลังผู้เรียนให้สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและมีการกระทำที่มีความรับผิดชอบต่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม พัฒนาการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Life Long Learning) และเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4) มีความเกี่ยวข้องกับผู้เรียนทุกคน เพื่อรับมือกับความท้าทายทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับโลกแบบองค์รวมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเปลี่ยนแปลงสังคมโลกอนาคตนั่นเอง
BCG : Bio-Circular-Green Economy = โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อเรียงตามลำดับแล้วจะหมายถึงเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต สนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)
ทั้ง 3 คำ กำลังถูกนำมาใช้อ้างอิงในการพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ทั้งในนโยบายและแผนยุทศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งของการศึกษา มีความจำเป็นที่ครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถออกแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กนักเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายและส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้กับเด็ก ๆ ค่ะ
-------------------------------------------------------------------------