คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 วันที่ 28 ธ.ค. 2566
วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"
วันที่ 14 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย และนางมลฑา ศรีเสริม ร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานO-NET ครั้งที่ 2 โดยการประชุมออนไลน์ผ่านระบบZoom Cloud Meeting ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
วันที่ 19 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางสาวสกุลยา ผลบุญ และนางสาวอัญชัญ ชูช่วย เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติ "ร้อยถ้อยคำ ร้อยความทรงจำ จากดวงใจ” เจ็ดทศวรรษ ธ ครองธรรม ธ ครองไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ณ สพป.จันทบุรี เขต 1
วันที่ 20 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางสาวอัญชัญ ชูช่วย นางนันทวรรณ คอนหน่าย นางสาวพรรณิภา เจริญทวี นายวริทธิ์นันท์ วิทยม และนายพรณรงค์ ทรัพย์คง จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการนำผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน(RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน(NT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
วันที่ 20 ธันวาคม 2566 นางสาวสกุลยา ผลบุญ ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนิน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ด้วยรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
วันที่ 22 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางสาวอัญชัญ ชูช่วย นางนันทวรรณ คอนหน่าย นางสาวพรรณิภา เจริญทวี นายวริทธิ์นันท์ วิทยม และนายพรณรงค์ ทรัพย์คง และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา (ก.ต.ป.น.) โดยการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM Meeting ทั้งนี้ ได้ร่วมวางแผนงานขับเคลื่อน และสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางการพัฒนางานต่าง ๆ ร่วมกัน
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 นางขวัญฤดี ไชยชาญ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการแกนนำขับเคลื่อนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
การประกันคุณภาพการศึกษา ตอนที่ 1
กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นวิธีบริหารจัดการเพื่อเป็นหลักประกันหรือสร้าง ความมั่นใจว่ากระบวนการหรือการดำเนินงานจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนดการประกัน คุณภาพเป็นการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิผล และสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ถือว่าผลลัพธ์นั้นมีคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายในเป็นการสร้างระบบและกลไกในการพัฒนาติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินการดำเนินงานของสถาบัน/องค์กร ให้เป็นไปตามนโยบายเป้าหมายและระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยสถานศึกษาและหรือหน่วยงานต้นสังกัด โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษากำหนดให้มีระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ บริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน ภายในเสนอตอบสถาบัน/หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาและเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือสมศ. หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกัน คุณภาพให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การประเมินมีความสมดุลระหว่างเกณฑ์ที่กำหนดกับงานที่สถานศึกษาดำเนินการ
การประกันคุณภาพการศึกษาหมายถึง กระบวนการบริหารจัดการและกระบวนการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่มีการวางแผนระบบการจัดการในด้านต่างๆ ตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน และกระบวนการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดขึ้น โดยระบบการประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance) เป็นระบบที่สถานศึกษาสร้างความมั่นใจ (Assure) แก่ผู้รับบริการ ทั้งผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนองค์กรหรือสถานประกอบการที่ผู้รับเรียน เข้าศึกษาต่อหรือทำงานว่าสถานศึกษาสามารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาจึงยึดหลักการ3 ประการ คือ
1) การกระจายอำนาจ (Decentralization)
2) การเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการทำงาน (Participation)
3) การแสดงภาระรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561และกระทรวงศึกษาธิการมีการประกาศให้ ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2561 เพื่อการประเมินคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษา คือ มาตรฐาน การศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 และมาตรฐาน การศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ.2561 โดยมีการดำเนินการจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา7 เรื่อง ประกอบด้วย
1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2) จัดทำแผนพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3) ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
4) ประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษา
5) ติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
6) รายงาน ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
7) การพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
โดยสรุปองค์ความรู้การ ประกันคุณภาพการศึกษา ดังภาพ
แผนภาพแสดงองค์ความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา
-------------------------------------------------------------------------