คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 วันที่ 21 ธ.ค. 2566
วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"
วันที่ 12 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาย นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางนันทวรรณ คอนหน่าย นายพรณรงค์ ทรัพย์คง นายวริทธิ์นันท์ วิทยม และนางสาวพรรณิภา เจริญทวี เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และกลุ่มสาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ ณ โรงเรียนบ้านเนินจำปา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ณ โรงเรียนบ้านวังอีแอ่น และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ณ โรงเรียนบ้านช่องกะพัด
วันที่ 13 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางสาวอัญชัญ ชูช่วย นางสาวพรรณิภา เจริญทวี และนายพรณรงค์ ทรัพย์คง เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การศึกษาพิเศษ ณ โรงเรียนวัดจันทนาราม และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(นักบินน้อย สพฐ.) ณ สนามกีฬาองค์การบริหารจังหวัดจันทบุรี
วันที่ 13 ธันวาคม 2566 นางมลฑา ศรีเสริม ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 เข้าร่วมกิจกรรมวันรวมพลังเด็กดี V-Star ผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก ปีการศึกษา 2566 จ.จันทบุรี ณ โรงเรียนศรียานุสรณ์
วันที่ 14 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางนันทวรรณ คอนหน่าย นางสาวอัญชัญ ชูช่วย และนายวริทธิ์นันท์ วิทยม เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ณ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ณ โรงเรียนบ้านแก้ว และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ณ โรงเรียนวัดพลับพลา และค่ายลูกเสือเขาคิชฌกูฏ
วันที่ 15 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางนันทวรรณ คอนหน่าย นายวริทธิ์นันท์ วิทยม และนายพรณรงค์ ทรัพย์คง เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(หุ่นยนต์ สพฐ.) ณ โรงเรียนบ้านคลองลาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ดนตรี) ณ โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ทัศนศิลป์) ณ โรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพที่ 171
วันที่ 16 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางนันทวรรณ คอนหน่าย นางสาวอัญชัญ ชูช่วย นายวริทธิ์นันท์ วิทยม และนายพรณรงค์ ทรัพย์คง เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ณ โรงเรียนสฤษดิเดช และกลุ่มสาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย ณ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี
กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
นายพรณรงค์ ทรัพย์คง
ทฤษฎีมาสโลว์ หรือ ลำดับขั้นความต้องการ (Maslow’s Hierarchy of Needs) เป็นทฤษฎีจิตวิทยาที่ อับราฮัม เอช. มาสโลว์ คิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 ในเอกสารชื่อ "A Theory of Human Motivation” Maslow ระบุว่า มนุษย์มีความต้องการทั้งหมด 5 ขั้นด้วยกัน ความต้องการทั้ง 5 ขั้น มีเรียงลำดับจากขั้นต่ำสุดไปหาสูงสุด มนุษย์จะมีความต้องการในขั้นต่ำสุดก่อน เมื่อได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วก็จะเกิดความต้องการขั้นสูงต่อไป ความต้องการของบุคคลจะเกิดขึ้น 5 ขั้นเป็นลำดับ ดังนี้
ระบบนี้จะสอดคล้องกับทฤษฎีข้อที่ 1 ที่กล่าวว่ามนุษย์มีความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) ได้แก่ ความต้องการเพื่อตอบสนองความหิว ความกระหาย ความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต รวมทั้งความต้องการสิ่งของเครื่องใช้ทั่วไป ระบบ Chan1 Play Store จึงนำทฤษฏีข้อนี้มาใช้เป็นระบบในการมอบของรางวัลที่จับต้องได้จริงให้กับผู้เรียนนอกเหนือจากการให้เกียรติบัตร ระบบ Chan1 Play Storeเป็นเสมือนคลังสินค้าที่ออกแบบมาให้นักเรียนสามารถเข้าไปช้อปปิ้งสิ่งของที่ต้องการได้ โดยนำค่าคะแนนที่ได้จากการเรียนและทำแบบทดสอบในแพลตฟอร์มบทเรียนออนไลน์ Chan1 Play ไปแลกสิ่งของที่นักเรียนต้องการ
จากการนำทฤษฏีข้อที่ 1 และ ข้อที่ 4
มาประยุต์ใช้ในระบบ Chan1 Play อาจเป็นสิ่งกระตุ้นหนึ่งที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่ทฤษฏีข้อที่
5 ของมาสโลว์ ที่กล่าวว่า มนุษย์มีความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน (Self-actualization) ความต้องการที่จะได้รับผลสำเร็จในเป้าหมายชีวิตของตนเอง
และต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต Chan1 Play จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการกระตุ้นให้นักเรียนมีความต้องการที่จะศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญข้อหนึ่งของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 และยังสอดคล้องกับนโยบาย Quick Win ข้อที่ 4
การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
-------------------------------------------------------------------------