นิเทศก์ news

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย - 7 ธันวาคม 2566

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 วันที่ 14 ธ.ค. 2566

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 4 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  โดย นางมลฑา ศรีเสริม  นางสาวสกุลยา ผลบุญ  นางสาวพรรณิภา เจริญทวี  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566  ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย ณ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี(ฝั่งตลาด) และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ณ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม 




          วันที่ 6 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ  นางสาวอัญชัญ ชูช่วย  นางนันทวรรณ คอนหน่าย  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  นางมลฑา ศรีเสริม  นางสาวพรรณิภา เจริญทวี  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566  ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ  ณ โรงเรียนสฤษดิเดช  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การงานอาชีพ และคอมพิวเตอร์  ณ โรงเรียนบ้านเนินจำปา และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาโดยการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ google meet





          วันที่ 7 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ  นางสาวอัญชัญ ชูช่วย  นายวริทธิ์นันท์ วิทยม  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566  ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การศึกษาพิเศษ ณ โรงเรียนวัดจันทนาราม  และกลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ณ โรงเรียนวัดพลับพลา

 



          วันที่ 7 ธันวาคม 2566  นางขวัญฤดี ไชยชาญ ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 และนางสาวนพรัตน์ ดาวไสว  เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM



          วันที่ 8 ธันวาคม 2566 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  โดย นางขวัญฤดี ไชยชาญ นางสาวสกุลยา ผลบุญ นายพรณรงค์ ทรัพย์คง นายวริทธิ์นันท์ วิทยม  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566  ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(นักบินน้อย สพฐ.) ณ สพป.จันทบุรี เขต 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(หุ่นยนต์ สพฐ.) ณ โรงเรียนบ้านคลองลาว  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ณ โรงเรียนบ้านแก้ว  และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ทัศนศิลป์) ณ โรงเรียนวัดโพธิ์ลังกามิตรภาพ 171



-------------------------------------------------------------------------

การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้

นางนันทวรรณ คอนหน่าย

          แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาเอาไว้ว่า "คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข” โดยมีเป้าหมายด้านผู้เรียนอยู่ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้ มีคุณลักษณะในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การอ่านออก การเขียนได้และการคิดเลขเป็น มีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ และความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม โดยกลยุทธ์ หลักในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยกลยุทธ์ 3 ประการ คือ 1.การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอน  2.การพัฒนาการจัดการเรียนรู้(Learning Management Development)  3.การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน(Students’ Performance Improvement)
          กลยุทธ์ ด้านการพัฒนาสมรรถนะด้านครูผู้สอน ประกอบด้วย การปรับกระบวนทัศน์ การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ และการปรับเปลี่ยนวิธีการวัดและประเมินผลผู้เรียน 
          กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรทุกระดับให้มีมาตรฐาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์ การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบสืบเสาะ การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยและรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (The Flipped Classroom)
          กลยุทธ์ด้านการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ประกอบด้วย การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองของผู้เรียน การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21
          สถานศึกษาสามารถนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ให้เหมาะสมกับเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity – Based Learning) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จต่อไป

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (๒๕๖๐). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ -๒๕๗๙ กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.


-------------------------------------------------------------------------





Leave a Comment