สพป.จันทบุรี เขต 1

ท่านบรมครูขงจื่อ

ขงจื๊อ
孔子
Confucius Tang Dynasty.jpg
ภาพเขียนขงจื๊อโดยจิตรกรสมัยราชวงศ์ถัง
เกิด 551 ปีก่อนคริสต์ศักราช
โจว, แคว้นหลิ่ว (ปัจจุบันคือ เมืองฉีฟู่ มณฑลซานตง)
เสียชีวิต 479 ปีก่อนคริสต์ศักราช
แคว้นหลิ่ว
ยุค ปรัชญาโบราณ
แนวทาง ปรัชญาจีน
สำนัก ผู้ก่อตั้งสำนักขงจื๊อ
ความสนใจหลัก
ปรัชญาศีลธรรมปรัชญาสังคม, บทกวี
แนวคิดเด่น
ลัทธิขงจื๊อ
ขงจื๊อ
Kongzi (Chinese characters).svg
"ขงจื๊อ" ในอักษรจีนโบราณ (บน)
และในอักษรจีน (ล่าง)
จีน 孔子
ความหมายตามตัวอักษร "อาจารย์ขง"

ท่านบรมครูขงจื่อ

ขงจื๊อ (จีน: 孔子; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 – 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน [1] ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ

ก่อนสิ้นใจหลังจากนั้น ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

ชีวประวัติโดยสังเขป

บรรพชนของขงจื๊อสืบเชื้อสายจากเจ้าผู้ครองแคว้นซ่ง(宋国)ซึ่งเป็นหนึ่งในสายราชนิกุลแห่งราชวงศ์ซาง(商朝)บรรพชนรุ่นต่อมาได้รับราชการเป็นขุนนางชั้นสูงของแคว้นซ่งมาหลายชั่วคน แต่ด้วยเหตุความวุ่นวายทางการเมืองจึงลี้ภัยมาอยู่ที่แคว้นหลู่(鲁国)บิดาของขงจื๊อมีนามว่า ข่งเหอ(孔纥)หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซูเหลียงเหอ(叔梁纥)เป็นผู้มีการศึกษาและชำนาญยุทธ์รูปร่างสูงใหญ่กำยำ รับราชการในแคว้นหลู่ และเคยเข้าร่วมกับกองทัพปกป้องบ้านเมืองจาการรุกรานของต่างแว่นแคว้นถึง 2 ครั้ง เขามีภรรยา 3 คน ภรรยาคนแรกให้กำเนิดบุตรสาว 9 คน ส่วนภรรยาคนที่สอง ถึงแม้จะให้กำเนิดบุตรชายคนแรก แต่ก็พิการทางขาตั้งแต่ยังเด็ก ซูเหลียงเหอในวัย 66 ปีจึงต้องแต่ง เหยียนเจิงไจ้(颜征在 บางตำราเขียนว่า 颜征)เป็นภรรยาคนที่สาม เพื่อมีทายาทสืบสกุลอย่างสมบูรณ์

ขงจื๊อเดิมชื่อว่า ชิว(丘)ชื่อรอง จ้งหนี(仲尼) เป็นชาวเมือง โจวอี้(陬义)ในแคว้นหลู่ปัจจุบันคือเมือง ชวีฟู่(曲阜)ในมณฑล ซานตง(山东)ท่านเกิดในสมัยชุนชิว(春秋)เมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล ถึงแก่กรรมเมื่อ 479 ปีก่อนคริสตกาล สิริอายุ 73 ปี

ใน ‘บันทึกประวัติศาตร์สื่อจี้ บทตระกูลขงจื๊อ’ <<史记,孔子世家>>ได้บันทึกไว้ว่า ขงจื๊อสูงประมาณ 2 เมตร เรียกได้ว่าเป็น ‘ผู้สูงใหญ่’ อย่างแท้จริง ตามคำร่ำลือกำลังแขนของขงจื๊อแข็งแรงยิ่งนัก คุณลักษณะทางกายภาพเหล่านี้ ขงจื๊อได้รับถ่ายทอดจากผู้เป็นบิดาซึ่งไม่ตรงกับภาพลักษณ์ที่คนรุ่นหลังกล่าวกันว่า ขงจื๊อเป็นปัญญาชนที่ร่างกายอ่อนแอ เพราะท่านชำนาญทั้งเกาทัณฑ์และขี่ม้า นอกจากนี้ ความสามารถในการดื่มสุราก็เหนือกว่าใคร

เมื่อขงจื๊ออายุได้ 3 ขวบ บิดาก็เสียชีวิต เหยียนเจิงไจ้ทนการกดขี่ของภรรยาหลวงไม่ไหว จึงพาบุตรชายสองคนไปใช้ชีวิตตามลำพัง นางอบรมเลี้ยงดูบุตรทั้งสองอย่างดี ให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากบิดาของนาง มารดาและผู้เป็นตาจึงเป็นผู้ปลูกฝังความใฝ่รู้ให้กับขงจื๊อตั้งแต่ยังเยาว์วัย สิ่งที่ขงจื๊อเล่าเรียนในขณะนั้นคือ จารีต ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ และพิธีกรรมของชนชั้นสูงและผู้มีฐานะในสังคมสมัยราชวงศ์โจว เมื่อขงจื๊ออายุ 15 ปี ก็ตั้งปณิธานใฝ่ศึกษาศิลปวิชาแขนงต่าง ๆ ดังที่มีบันทึกในหนังสือ ‘วาทะวิจารณ์ของขงจื๊อ’ <<论语>> ว่า "ข้าอายุ 15 ก็ตั้งมั่นในการศึกษา” (吾十有五而志于学)

พออายุ 17 ผู้เป็นมารดาจากไป ขงจื๊อเลี้ยงชีพด้วยการเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในแคว้นหลู่ ทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานดูแลคลังเสบียงและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ตามลำดับ นอกจากนี้ จวนขุนนางหรือคหบดีคนใดมีงานมงคลหรืออวมงคล ก็จะไปเป็นผู้ทำพิธีกรรมให้ ด้วยอุปนิสัยที่ใฝ่รู้ท่านจึงมุ่งมานะหมั่นศึกษามาโดยตลอด อายุ 20 กว่าก็สนใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง มักถกปัญหาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านเมืองแก่บรรดานักปกครอง จนได้รับการยกย่องให้เป็น ‘ผู้รอบรู้และสันทัดในนิติธรรมเนียม(礼)’ ดังเช่น ครั้นเมื่อเจ้าผู้ครองแคว้นฉี พระนามว่า ‘ฉีจิ่งกง’ (齐景公) เดินทางมาเยือนแคว้นหลู่ พร้อมกับเสนาบดีผู้กระเดื่องนามในประวัติศาตร์นามว่า ‘เยี่ยนอิง’(晏婴)ทั้งสองได้เชิญขงจื๊อเข้าพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง

ขงจื๊อถนัดในการศึกษาเรียนรู้ข้อดีของคนอื่น ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า "สามคนร่วมเดิน จักต้องมีอาจารย์ของเราเป็นแน่ จงเลือกที่ดีเพื่อเอาอย่าง ส่วนที่ไม่ดีก็จงนำมาแก้ไขปรับปรุงตน”(三人行,必有一师焉。择其善者而从之,其不善者而改之)และยังเห็นว่า "ผู้มีความรู้ต้องพร้อมด้วยวรยุทธ์ ผุ้มีวรยุทธ์ต้องพร้อมด้วยความรู้”(有文事者必有武备,有武事者必有文备)ซึ่งก็ต้องเป็นผุ้รอบรู้นั่นเอง ความขยันหมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่เยาว์วัย เป็นการสั่งสมความรู้ความสามารถสำหรับการสร้างระบบแนวคิด และปูพื้นฐานที่มั่นคงในการถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศินย์ ทำให้ขงจื๊อเป็นผู้รอบรู้ในยุคสมัยนั้นและมีผู้มาฝากตัวเป็นศินย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ครั้นอายุ 35 แคว้นหลู่เกิดศึกการเมืองภายในจากการแย่งชิงอำนาจกันเองของผู้ปกครอง ขงจื๊อจึงเดินทางไปยังแคว้นฉีด้วยความคาดหวังว่า เจ้าผุ้ปกครองแคว้นฉีจะสนใจแนวคิดการปกครองของตน แต่ต้องผิดหวังที่เจ้าผู้ปกครองแคว้นไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทั้งยังมีขุนนางคอยกลั่นแกล้งและกีดกัน ท่านจึงกลับมายังแคว้นหลู่หลังจากที่อยู่แคว้นฉีได้ราวหนึ่งปี และดำเนินชีวิตเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่บรรดาสานุศินย์ทั้งหลาย

ขงจื๊อในวัย 51-54 ปีใช้ชีวิตวัยกลางคนคลุกคลีกับการปกครองบ้านเมืองอย่างเต็มตัว ด้วยการดูแลท้องที่เล็ก ๆ แห่งหนึ่งจากนั้นไม่นานก็ได้เป็นผู้คุมการโยธา และผู้ดูแลกฎหมายและการลงทัณฑ์ของแคว้นหลู่ ตามลำดับ ท่านทุ่มเทกับงานและปรารถนาให้มีการปกครองที่ดี บ้านเมืองสงบสุข แต่ต้องผิดหวังกับการเมืองภายในแคว้น จึงได้ลาออกและเดินทางเยือนแว่นแคว้นต่าง ๆ เผยแพร่แนวความคิดทางการปกครอง ด้วยความคาดหวังให้บรรดาผู้ปกครองยึดหลักธรรมในการบริหารบ้านเมือง สังคมเป็นระเบียบแบบแผนและสงบสุข แม้จะรู้ว่าเป้นไปได้ยากในสภาพบ้านเมืองเวลา 14 ปี จนกระทั่งอายุได้ 67 ปี จึงเดินทางกลับแคว้นหลู่ และเสียชีวิตเมื่ออายุ 73 ปี

ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่เดินทางเยือนผู้ปกครองของแว่นแคว้นต่าง ๆ เพื่อแนะแนวทางการบริหารบ้านเมือง ขงจื๊อประสบกับอุปสรรคนานัปการ ไม่ว่าจะถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ใส่ร้ายป้ายสี ปองร้าย ควบคุมตัว และแนวความคิดก็ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสวนทางกับสภาพบ้านเมืองและสังคมในขณะนั้นที่เจ้าครองแคว้นต่างคำนึงถึงผลประโยชน์ความอยู่รอดของแคว้นตน แต่ท่านก็ไม่ลดละความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นที่ต้องการมีส่วนร่วมสร้างสังคมที่ดี ยินดีที่จะอุทิศตนเพื่อประชาชน ท่านกล่าวว่า "ผู้มีปณิธานและมนุษยธรรมจะไม่ทำลายมนุษยธรรมเพียงเพื่อแลกกับการมีชีวิต จะมีแต่อุทิศชีวิตตนเพื่อให้บรรลุมนุษยธรรม”

ศาสตร์สี่แขนง
ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้ ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า
แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้
ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก
ลำดับการเรียนรู้
ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
คุณธรรมทั้งสาม
ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ
สี่ขั้นตอนหลักการสอน
ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
สี่ลำดับการสอน
ได้แก่ คุณธรรมและความประพฤติ ภาษาและการพูดจา รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง และสุดท้ายคือวรรณคดี
ปรัชญาจริยธรรม :


ขงจื๊อมองสังคมของมนุษย์ในแง่ของความสัมพันธ์ตามทฤษฎีแบบ Organism คือสังคมประกอบขึ้นจากหน่วยย่อย คือ ปัจเจกชนแต่ละคน ถ้าแต่ละคนเป็นคนดี สังคมก็จะดีด้วย การกระทำของแต่ละคนย่อมกระทบกระเทือนต่อสังคมเหมือนร่างกายเราประกอบขึ้นด้วยอวัยวะ (Organs) ต่าง ๆ ถ้าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับอันตรายย่อมกระทบต่ออวัยวะส่วนสวม (Organism)

อนึ่ง ขงจื๊อมีความเห็นว่า บุคคลแต่ละคนย่อมจะมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่โดยฐานใดก็ฐานะหนึ่ง และความสันพันธ์ขึ้นมูลฐานในสังคมที่ควรจะได้รับการปรับปรุง พัฒนามีอยู่หลายประการ คือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง

2. ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดา

3. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา

4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่

5. ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่อเพื่อน

ในความสัมพันธ์ 5 ประการนี้ ขงจื๊อได้วางหลักจริยธรรมสำหรับปฏิบัติ ในฐานะนั้น ๆ ไว้ดังนี้

ความสัมพันธ์ประเภทที่หนึ่ง เมตตา, สุจริต จงรักภักดี

ความสัมพันธ์ประเภทที่สอง เมตตา, กตัญญูกตเวที

ความสัมพันธ์ประเภทที่สาม รัก, ซื่อสัตย์, รับผิดชอบในหน้าที่แห่งตน

ความสัมพันธ์ประเภทที่สี่ คารวธรรม

ความสัมพันธ์ประเภทที่ห้า ความจริงใจ

ขงจื๊อย้ำว่าในการอยู่ร่วมกัน จะต้องปรับปรุงความสัมพันธ์ขั้นมูลฐานนี้ให้ดีเสียก่อน สังคมส่วนใหญ่จะเป็นอยู่เป็นสุข (Ordered Society) และนอกเนือไปจากนี้ ปัจเจกชนแต่ละคนต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมดังต่อไปนี้

1. จริยธรรมทางกาย (Morality in Action)

หมายถึง จริยธรรมที่ควรปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม จริยธรรมนี้มีชื่อว่า เจิ้งหมิง (正名) คือการปฏิบัติให้สมกับที่ตัวเป็น (Rectification of the name) หมายความว่าแต่ละคนย่อยจะมีความเป็น เช่น เป็นตำรวจ เป็นครู เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ ความเป็นแต่ละอย่าง (ชื่อ) ย่อมบ่งยอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ฉะนั้น เมื่อเราเป็นอะไร ต้องทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบนั้น ๆ อย่างสมบูรณ์ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความยุ่งยากในสังคมเกิดขึ้น เพราะคนไม่ทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ ส่วนมากเป็นเต่เพียงในนาม”

2. จริยธรรมทางใจ (Morality in Cultivation)

คือหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจของตัวเอง ได้แก่

2.1 ความรักใครเมตตา (Human Heartedness) หรือเหริน(任)หมายถึงความรักโดยไม่จำกัดขอบเขต ไม่มีการแบ่งแยก เช่นเดียวกับหลักเมตตาในพระพุทธศาสนา และหลักความรักแห่งพระเจ้า(Divine Love)ในศาสนาคริสต์

2.2 สัมมาปฏิบัติ (Rightousness) หรืออี้ (义)ได้แก่การกระทำในสิ่งที่เห็นว่าถูกหรือควร โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือโดยแรงบังคับภายนอกที่พูดกันสั้น ๆ ว่า ทำความดีเพื่อความดี (Do good for the good’s sake) ขงจื๊อย้ำว่าในการกระทำของเราแม้จะกระทำในสิ่งที่ดี แต่ถ้าทำเพราะหวังสิ่งตอบแทนอย่างอื่น เช่น ชื่อเสียง เงินทอง จะจัดว่าเป็นสัมมาปฏิบัติ (Rightous Action) ไม่ได้ เราจะต้องกระทำความดีนั้นเพื่อความดี เพราะความดีมีค่าในตัวมันเองอยู่แล้ว ความดีมิได้อยู่ที่ผลที่ได้รับ (The Value of doing what we ought to do lies in doing itself and not in the external result)

การปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าวอาจจะเป็นการยาก ขงจื๊อจึงวางหลักปฏิบัติสั้น ๆ เพื่อการก้าวหน้าไปสู่จริยธรรมดังกล่าวข้างต้นไว้ หลักปฏิบัตินี้คือ

1. ปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนที่ท่านปรารถนาจะให้คนอื่นปฏิบัติต่อท่าน

2. จงอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ท่านไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน

อนึ่ง ขงจื๊อกล่าวว่า ผู้ที่จะปฏิบัติตามหลักจริยธรรมต่าง ๆ ได้อย่างไม่ท้อถอย จะต้องเป็นผู้ที่รู้จัก มิ่ง (命) คำว่า มิ่ง มีความหมายว่า "โชคชะตา” หรือโองการสวรรค์ ขงจื๊อให้ความหมายว่าการดำเนินชีวิตนั้น มีบางสิ่งบางอย่างที่พ้นวิสัยที่เราจะควบคุมหรือลิขิต มันเป็นอย่างที่มันจะเป็นเช่นเดียวกับที่ชาวพุทธพูดกันว่า "มันเป็นกรรม” ฉะนั้นในการครองชีวิตเราจะต้องเข้าใจในสิ่งนี้ เพื่อมิให้เกิดความท้อแท้ในการประกอบความดี


ปรัชญาด้านการศึกษา :


อุดมคติความเป็นครู

โดยปฏิปทาของขงจื๊อเราสามารถที่จะมองเห็นอุดมคติในความเป็นครูอยู่หลายประการ ซึ่งอาจจะแยกแยะให้เห็นได้ดังนี้

1. การไม่หวงวิชา ความยิ่งใหญ่ของขงจื๊อประการหนึ่งนั้น เห็นได้จากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์คือนับตั้งแต่สมัยขงจื๊อเป็นต้นมา การศึกษาได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนหนุ่มผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย เพราะโดยการศึกษานั้นพวกเขาสามารถที่จะยกฐานะของตนเองจากกำเนิดอันต่ำต้อยไปสู่ความเป็นผู้มีศักดิ์สูงได้ แสดงให้เห็นว่าขงจื๊อไม่หวังความเป็นเลิศทางวิชาการไว้เพื่อศักดิ์ศรีและความยิ่งใหญ่ของตัวเองแต่ผู้เดียว ขงจื๊อเองกล่าวว่า

"ข้าพเจ้าไม่เคยปฏิเสธที่จะอบรมสั่งสอนวิชาความรู้ให้แก่ใคร ๆ ผู้ที่มีความกระหายอยากจะเรียนรู้เลย แม้ว่าเขาจะยากจนซึ่งอาจจะหาได้เพียงเนื้อแห้งมัดเดียว เพื่อที่จะนำมาเป็นเครื่องตอบแทนน้ำใจ”

2. ไม่หลงตัวเอง เพิ่มพูนความรู้อยู่เสมอ ดังคำกล่าวที่ขงจื๊ออธิบายดังที่ขงจื๊ออธิบายลักษณะของตนเองในฐานะที่เป็นครูว่า "ไตร่ตรองสิ่งทั้งหลายด้วยดวงจิตที่สงบ เพิ่มพูนความรู้ให้สูงขึ้น แม้จะศึกษารู้มาแล้วมากมาย....”

3. มีฉันทะหรือความเต็มใจในการสอน ข้อความวรรคท้ายของคำกว่างที่ขงจื๊ออธบายลักษณะของตนเองในฐานะที่เป็นครูมีอยู่ว่า "ไม่เคยเบื่อหน่ายในการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ผู้อื่นเลย” ข้อความนี้แสดงให้เห็นความรักความเต็มใจในหน้าที่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของคามเป็นครู

4. ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม ขงจื๊อเป็นนักการศึกษาที่สนใจในจริยธรรมและใช้ชีวิตตารมแนวจริยธรรมหรือความดีงามที่ได้เห็นแจ้งแล้วโดยมีสติปัญญา ในกรณีนี้ขงจื๊อกล่าวว่า

"มีคนมากมายที่กระทำอะไรลงไป โดยไม่รู้ว่าทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น แต่ข้าพเจ้าไม่เหมือนผู้คนเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังมามากเหลือสรรเอาแต่สิ่งที่ดีงานแล้วปฏิบัติตามข้าพเจ้าก็เห็นมาก็มาก ศึกษาสิ่งเหล่านั้นแล้วจดจำไว้ นี่เองทำให้ข้าพเจ้าเข้าไปใกล้กับความรู้ที่แท้จริง”

แหล่งข้อมูลอื่น

จากเว็บกองทัพบกไทย
หนังสือ ปรัชญาจีน , น้อย พงษ์สนิท, ศูนย์หนังสือเชียงใหม่

กล่องแสดงความคิดเห็น



บทความโดย แสงเดือน บุญอภัย


แสงเดือน
แสงเดือน บุญอภัย


IMG