สพป.จันทบุรี เขต 1

วัดพลับบางกะจะ

เขียนโดย Pornnarong Supkong - 24 ธันวาคม 2565 / พระยอดธง รุ่น "เก้ายอดจันทร์"

           วัดพลับบางกะจะ ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่สำนักพระพุทธศาสนาบันทึกไว้ว่า ได้รับการอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดในปี พ.ศ. 2300 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงใช้สถานที่วัดพลับเป็นที่พักทัพ จัดเตรียมกองทัพก่อนเข้าตีเมืองจันทบุรี เพื่อกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าก่อนที่จะยกทัพไปทำการสู้รบ พระองค์ทรงประกอบพิธีบำรุงขวัญทหาร สร้างพระยอดธงแจกจ่าย และนำน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์มาทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมเหล่าทหารหาญ โดยทำพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถหลังเก่า




โดยภายหลังจากการกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ และจัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมด้วยแม่ทัพนายกองได้เสด็จกลับมาบูรณะวัดพลับและได้นำพระยอดธงที่เหลือจากการแจกจ่ายทหารก่อนไปทำการรบเข้าบรรจุในพระเจดีย์กลางทรายถวายเป็นพุทธบูชา ต่อมาเมื่อราชวงศ์จักรีขึ้นครองราชย์เป็นต้นมา พระองค์ทรงใช้น้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดพลับทำน้ำพระพุทธมนต์ราชาภิเษกในการเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตรย์ โดยกระทำพิธีที่อุโบสถวัดพลับจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายที่ใช้อุโบสถหลังเก่าวัดพลับเป็นสถานที่ทำน้ำพระพุทธมนต์ราชาภิเษก แต่การนำน้ำในบ่อศักดิ์สิทธิ์ไปใช้ในพิธีสำคัญที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ ทางราชการยังใช้น้ำในบ่อนี้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งวันที่เราไปนั้น ได้ดูน้ำอยู่ค่อนข้างลึกแต่ใสมาก เจ้าหน้าที่ท่านนึงได้พยายามช่วยเอาถังตักน้ำในบ่อให้พวกเราได้นำมาปะพรม เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต ซึ่งพวกเราที่ไปนั้นรู้สึกปลาบปลื้มยินดีมาก ในปัจจุบันโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่กรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติแล้ว ที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1. โบสถ์วัดพลับ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2441 เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ สูง 20 เมตร องค์พระปรางค์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ 2 ชั้น มีบันไดมีมุขยื่นทั้ง 4 ด้านโดยรอบ ส่วนยอดของพระปรางค์ มีการซ้อนชั้น องค์พระปรางค์เล็กมีชั้นฐานเชิงบาตรรองรับประดับซุ้มด้วยรูปปั้นเศียรช้างทั้ง 4 ทิศ และส่วนยอดสุดตกแต่งด้วยยอดปรางค์ประดับด้วยตรีศูลพระปรางค์ลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยพบในภาคตะวันออกได้รับการบูรณะ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

วัดพลับ บางกะจะ


2. เจดีย์กลางน้ำ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลางสูงประมาณ 7 เมตร ตัวองค์ระฆังก่ออิฐถือปูนธรรมดา ไม่ประดับกระเบื้องมีฐานประทักษิณ โดยรอบ 4 ด้าน เมื่อทอดเงาในน้ำมองดูงามสง่า กรมศิลปากรได้ปฎิสังขรณ์ แล้วเสร็จเมื่อ เดือน มกราคม พ.ศ. 2552

วัดพลับ บางกะจะ จังหวัดจันทบุรี | OK Chanthaburi


3. วิหารไม้ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลางสูงประมาณ 7 เมตร ตัวองค์ระฆังก่ออิฐถือปูนธรรมดา ไม่ประดับกระเบื้องมีฐานประทักษิณ โดยรอบ 4 ด้าน เมื่อทอดเงาในน้ำมองดูงามสง่า กรมศิลปากรได้ปฎิสังขรณ์ แล้วเสร็จเมื่อ เดือน มกราคม พ.ศ. 2552

วัดพลับ : Watplup Temple


4. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลางสูงประมาณ 7 เมตร ตัวองค์ระฆังก่ออิฐถือปูนธรรมดา ไม่ประดับกระเบื้องมีฐานประทักษิณ โดยรอบ 4 ด้าน เมื่อทอดเงาในน้ำมองดูงามสง่า กรมศิลปากรได้ปฎิสังขรณ์ แล้วเสร็จเมื่อ เดือน มกราคม พ.ศ. 2552




5 พระปรางค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2441 เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ สูง 20 เมตร องค์พระปรางค์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ 2 ชั้น มีบันไดมีมุขยื่นทั้ง 4 ด้านโดยรอบ ส่วนยอดของพระปรางค์ มีการซ้อนชั้น องค์พระปรางค์เล็กมีชั้นฐานเชิงบาตรรองรับประดับซุ้มด้วยรูปปั้นเศียรช้างทั้ง 4 ทิศ และส่วนยอดสุดตกแต่งด้วยยอดปรางค์ประดับด้วยตรีศูลพระปรางค์ลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยพบในภาคตะวันออกได้รับการบูรณะ เดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ. 2550


 

6. หอไตร เป็นหอไม้ทรงไทย อายุเก่าแก่สมัยอยุธยา หลังคา 2 ชั้นทรงจั่วโครงสร้างไม้ตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง มีระเบียงรอบหอเสารองรับหลังคาเป็นเสาเดิมยังเห็นร่องรอยการตกแต่งด้วยลายรดน้ำลงรักปิดทอง เป็นหอไตรขนาดกลาง สร้างอยู่กลางสระน้ำ เดิมใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก กรมศิลปากรได้ปฎิสังขรณ์แล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552



7. อนุสรณ์สถานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีพ.ศ. 2309 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ขณะนั้นเป็น พระยาวชิโรปราการ)ได้รวบรวมเหล่าทหารไทยจำนวนหนึ่งตีฝ่าทหารพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา ผ่านมาทางระยองเรื่อยมามุ่งสู่จันทบุรี และได้มาหยุดพักพลปละประทับพักแรกที่บ้านบางกะจะ หัวแหวน( ปัจจุบันเป็นพื้นที่ 2 ตำบลคือตำบลบางกะจะและตำบลพลอยแหวน) ก่อนที่จะนำกองทัพเข้าตีเมืองจันทบุรีและยกทัพเรือไปกู้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ประกอบพิธีตัดไม้ข่มนามบำรุงขวัญทหาร โดยนำน้ำถวายเป็นพุทธบูชา ต่อมา พ.ศ. 2479 พระเจดีย์ได้พังทลายลงจึงพบพระยอดธงเป็นจำนวนมาก เป็นที่เลี่ยงลือในหมู่นิยมพระเครื่องว่า พระยอดธงดี ต้องพระยอดธงวัดพลับ

วัดพลับ บางกะจะ

กล่องแสดงความคิดเห็น